โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

17 ก.ย. 2554

ช่อง3

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์แบบไม่เก็บค่าบริการจากผู้รับชมแห่งที่สี่ของประเทศไทย เน้นเรื่องความบันเทิง ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10.00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่อง 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 32 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 และมี นายประวิทย์ มาลีนนท์ เป็นกรรมการผู้จัดการ
ประวัติ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เกิดขึ้นจาก บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (อังกฤษ: Bangkok Entertainment Company Limited; ชื่อย่อ: บีอีซี.; BEC ปัจจุบันอยู่ในเครือบีอีซี เวิลด์) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยนายวิชัย มาลีนนท์ และ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ลงนามร่วมกัน ในสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีอายุสัญญา 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513-25 มีนาคม พ.ศ. 2523

โดยตามสัญญา กำหนดให้มีที่ดินไม่น้อยกว่า 6 ไร่ เพื่อก่อตั้งสถานีส่งออกอากาศ พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้าง และอุปกรณ์การส่งโทรทัศน์ทั้งหมด รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท โดยจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ทันที เมื่อเริ่มส่งออกอากาศ แต่เมื่อลงทุนจริง บริษัทฯ ใช้ทุนไปทั้งสิ้น 54.25 ล้านบาท สูงกว่าในสัญญา 29.25 ล้านบาท และระหว่างการร่วมดำเนินกิจการตามสัญญา ในระยะเวลา 10 ปีนั้น บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าตอบแทน แก่บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นเงิน 44 ล้านบาท และเงินสวัสดิการ แก่พนักงานบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด อีกปีละ 1 ล้านบาท รวมเป็น 10 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 54 ล้านบาท

อนึ่ง บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้ขยายอายุสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ซึ่งแปรรูปมาจาก บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2520 มาแล้วสองครั้ง คือเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2521 ขยายออกไปอีก 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2523-25 มีนาคม พ.ศ. 2533 และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ขยายออกไปอีก 30 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533-25 มีนาคม พ.ศ. 2563

ต่อมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2513 ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มทดลองออกอากาศ โดยใช้กำลังส่งเต็มระบบคือ 50 กิโลวัตต์ ด้วยเครื่องส่งขนานเป็นครั้งแรก ระหว่างเวลา 19.00-21.00 น. จากนั้น ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2513 ทางสถานีฯ เริ่มทดลองแพร่ภาพออกอากาศแบบเสมือนจริง ระหว่างเวลา 09.30-24.00 น. และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ตามเวลาฤกษ์ คือ 10.00 น. โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีฯ[1][2]
อาคารที่ทำการ

เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2512 มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการสถานีฯ บนที่ดินขนาด 6 ไร่เศษ บริเวณกิโลเมตรที่ 19 ถนนเพชรเกษม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยอาคารดังกล่าว มีความสูง 4 ชั้น ภายในเป็นห้องส่งขนาด 600 ตารางเมตร 2 ห้อง, ขนาด 500 ตารางเมตร 2 ห้อง และขนาด 110 ตารางเมตร อีก 1 ห้อง โดยแต่ละห้องส่งจะมีห้องควบคุมเฉพาะ ซึ่งมีการติดตั้งระบบไซโครามา สูง 7.5 เมตร กว้าง 47 เมตร ใช้ประดิษฐ์ภาพฉากท้องฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดความชัดลึก และเปลี่ยนสีให้กับฉากได้เสมือนจริงอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อเริ่มแพร่ภาพออกอากาศแล้วทางสถานีฯ ต้องส่งมอบอาคาร และที่ดินดังกล่าว ตลอดจนเครื่องส่งโทรทัศน์ และอุปกรณ์การออกอากาศต่างๆ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยทันที

ต่อมาได้แยกส่วนของสำนักงาน มายังอาคารเลขที่ 2259 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และจัดสร้างห้องส่งโทรทัศน์ บนชั้น 8 ของอาคารโรบินสัน จากนั้น เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2529 จึงได้รวมส่วนงานที่กระจายอยู่ 3 แห่ง มารวมศูนย์อยู่ที่อาคารวานิช 1 และ 2 บริเวณแยกวิทยุ-เพชรบุรี (ถนนวิทยุตัดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำเนินงานให้คล่องตัวมากขึ้น และในราวปี พ.ศ. 2542 สถานีฯ ย้ายอาคารที่ทำการทั้งสามส่วนงาน ขึ้นไปยังอาคารเอ็มโพเรียม ถนนสุขุมวิท

ในปัจจุบัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2546) จึงย้ายมายังอาคารที่ทำการปัจจุบัน โดยมี บมจ.บีอีซีเวิลด์ เป็นเจ้าของด้วยตนเองคือ อาคารมาลีนนท์ (เดิมเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)) เลขที่ 3199 ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 อาคาร โดยอาคาร เอ็ม 1 เป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทฯ และ อาคาร เอ็ม 2 เป็นส่วนปฏิบัติการออกอากาศ
เทคโนโลยีการออกอากาศ

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ชื่อสากล: HS-TV 3) เป็นสถานีโทรทัศน์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ออกอากาศโดยใช้ช่องความถี่ต่ำ ระบบวีเอชเอฟ ทางช่อง 2 ถึง ช่อง 4 โดยในระยะเริ่มแรก สามารถให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น โดยใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีขนาด 25 กิโลวัตต์ จำนวนสองเครื่องขนานกัน รวมกำลังส่งเป็น 50 กิโลวัตต์ อัตราการขยายสายอากาศ 13 เท่า กำลังออกอากาศที่ปลายเสาอยู่ที่ 650 กิโลวัตต์ เสาอากาศเครื่องส่งมีความสูง 250 เมตร ความถี่คลื่นอยู่ระหว่าง 54-61 เมกะเฮิร์ตซ์ ใช้ระบบ ซีซีไออาร์ พาล (CCIR PAL) 625 เส้น เป็นแห่งแรกของไทย โดยส่งออกอากาศ ทางช่องสัญญาณที่ 3 ทั้งนี้ ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งที่สองของประเทศไทย ต่อจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

ต่อมา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 บริษัทฯ จึงลงนามในสัญญาขยายเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วประเทศ ร่วมกับ อ.ส.ม.ท. เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์ออกอากาศร่วมกัน ระหว่างไทยทีวีสีช่อง 3 และไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531-กรกฎาคม พ.ศ. 2534 จนทั้งสองช่อง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟความถี่ต่ำ ช่วงระหว่าง 54-61 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งถูกรบกวนได้ง่าย และภาครับมีความซับซ้อน เนื่องจากอยู่ในย่านความถี่ต่ำ จึงมีขนาดความยาวคลื่นสูง จึงต้องใช้สายอากาศรับสัญญาณ ที่มีความยาว และน้ำหนักมากกว่า สายอากาศที่ใช้รับสัญญาณโทรทัศน์ ระบบวีเอชเอฟความถี่สูง ระหว่างช่อง 5-ช่อง 12 นอกจากนี้ เมื่อกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงมากขึ้น จำนวนประชากร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณภาพสัญญาณของไทยทีวีสีช่อง 3 ลดลงไปมาก เมื่อเทียบกับช่วงที่เริ่มออกอากาศระยะแรก

ดังนั้น ช่วงปลายปี พ.ศ. 2546 ไทยทีวีสีช่อง 3 จึงได้รับอนุมัติการจัดสรรคลื่นความถี่ในระบบยูเอชเอฟ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) เพื่อใช้ออกอากาศแทนคลื่นความถี่เดิม (ระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ) จำนวน 5 สถานี คือ สถานีหลักกรุงเทพมหานคร ออกอากาศทางช่อง 32, สถานีส่งเชียงใหม่ เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 46 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548, สถานีส่งสุโขทัย เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 37 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2548, สถานีส่งนครราชสีมา เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 41 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เดิมตั้งเสาส่งที่เขายายเที่ยง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว ต่อมา ย้ายไปที่หมู่บ้านยางน้อย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา, และ สถานีส่งสงขลา เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 38 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ต่อมา เนื่องจากคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ ระบบวีเอชเอฟความถี่สูง ทางช่อง 11 ที่ไทยทีวีสีช่อง 3 ใช้ในบริเวณชายแดนไทยมาเลเซีย เกิดรบกวนกับสัญญาณอื่น ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 จึงเพิ่มสถานีส่งขึ้นที่จังหวัดสตูล โดยแพร่ภาพทางช่อง 55[4]

สำหรับสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานคร ได้มีการร่วมกันลงนามในสัญญาร่วมใช้เสาส่งโทรทัศน์ และระบบสายอากาศโทรทัศน์ บนอาคารใบหยก 2 ระหว่าง บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ต่อมา เกิดการโอนกิจการ ทรัพย์สิน สัญญาการดำเนินการ และสิทธิต่างๆ ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งรวมถึงเสาส่ง คลื่นความถี่ และเครื่องส่งโทรทัศน์ ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของ สำนักบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟเฉพาะกิจ (หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) เมื่อปี พ.ศ. 2550 และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2551 ตามลำดับ จึงมีการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญา เป็นองค์กรของรัฐทั้งสองตามไปด้วย)

จากนั้น เมื่อเวลา 09.39 น. ของวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศด้วยระบบยูเอชเอฟอย่างเป็นทางการ ทางช่อง 32 ซึ่งในระยะแรก สามารถรับชมได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 17 จังหวัด โดยยังคงออกอากาศในระบบวีเอชเอฟความถี่ต่ำ ทางช่อง 3 ไปเป็นคู่ขนานด้วย เพื่อให้เวลาเปลี่ยนแปลงระบบการรับชมแก่ผู้ชม กระทั่งวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 จึงยุติการออกอากาศระบบวีเอชเอฟ จากสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานคร และออกอากาศระบบยูเอชเอฟเพียงทางเดียว

การจัดรูปองค์กร

ไทยทีวีสีช่อง 3 มีรูปแบบการบริหารองค์กร โดยแบ่งหน่วยงานย่อยออกเป็น 18 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร, ฝ่ายผลิตรายการ, ฝ่ายข่าว, ฝ่ายรายการ, ฝ่ายออกอากาศ, ฝ่ายศิลปกรรม, ฝ่ายวิศวกรรม, ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์, ฝ่ายแผนงานวิศวกรรม, ฝ่ายไฟฟ้ากำลัง, ฝ่ายสถานีวิทยุกระจายเสียง (เอฟ.เอ็ม.105.5 เมกะเฮิร์ตซ์), ฝ่ายธุรการ, ฝ่ายบุคคล, ฝ่ายบัญชี, ฝ่ายการเงิน, ฝ่ายโฆษณา, ฝ่ายการตลาด และฝ่ายประชาสัมพันธ์
คำขวัญประจำสถานี

เมื่อปี พ.ศ. 2524 ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยอนุมัติของ นายวิชัย มาลีนนท์ และผู้บริหารสถานีฯ ได้จัดกิจกรรมให้ผู้ชมร่วมเสนอคำขวัญประจำสถานีฯ ทว่าไม่มีคำขวัญใดที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งนี้ ในอีกสามปีต่อมา นายวิชัย พร้อมด้วยผู้บริหารไทยทีวีสีช่อง 3 นำคำขวัญ ซึ่งได้มาจากการเสนอของผู้ชมในครั้งแรก มารวมเข้ากับแนวคิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสถานีฯ จนกระทั่งได้คำขวัญว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยนำมาเผยแพร่ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 เนื่องในโอกาสที่สถานีฯ มีอายุครบ 15 ปี ในวันที่ 26 มีนาคม ปีเดียวกันนั้น
นิตยสารรายการโทรทัศน์

ดูบทความหลักที่ นิตยสารรายการโทรทัศน์
เหตุการณ์สำคัญ

ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ริเริ่มจัดทำนิตยสารรายการโทรทัศน์ เพื่อแจกฟรีแก่ผู้สนใจ ออกเป็นฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2514 นับเป็นสถานีฯ แรก ที่จัดทำนิตยสารในลักษณะนี้ แต่สามารถดำเนินการได้เพียงประมาณสองปีก็หยุดไป แต่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 สถานีฯ จึงฟื้นการจัดทำนิตยสารขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนั้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2520 ยังออกเป็นฉบับภาษาอังกฤษและต่อมา มีการออกเป็นฉบับภาษาจีนอีกด้วย แต่ในปีพ.ศ. 2539 ยุติการจัดพิมพ์ลงแล้วในทุกภาษา และปัจจุบัน สถานีฯ จึงฟื้นการจัดทำนิตยสารขึ้นใหม่อีกครั้ง


กระแสไฟฟ้าขัดข้อง

ในยุคแรกของการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ทั่วโลก มักเกิดปัญหาความไม่เสถียร ของสัญญาณการออกอากาศ หรือปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง สำหรับในประเทศไทย เจ้าหน้าที่เทคนิคจะเตรียมสไลด์ภาพดอกไม้ชนิดต่างๆ ที่ประกอบด้วยตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ รวมถึงอาจมีชื่อย่อหน่วยงานภาครัฐ ที่ให้เช่าสัมปทานและคลื่นความถี่ พร้อมทั้งแถบบันทึกเสียง ประกาศขออภัยผู้ชมไว้อยู่เสมอ ทั้งนี้ สำหรับไทยทีวีสีช่อง 3 คำประกาศในแถบบันทึกเสียงดังกล่าว จะมีใจความว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต้องขออภัยท่านผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง จึงทำให้การออกอากาศต้องหยุดชะงักไปชั่วขณะ ... และต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับชมรายการของทางสถานีฯ ได้ตามปกติค่ะ"
ภาพแถบสีทดสอบ แบบ Colourredbar ที่แสดงข้อความ BecTero-TesT บนหน้าจอ

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ระบบบำบัดน้ำเสียภายในอาคารมาลีนนท์เกิดชำรุด ส่งผลให้น้ำเสียไหลเข้าท่วมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงไม่สามารถออกอากาศได้ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าดับ ตั้งแต่เวลา 16.04 น. ขณะกำลังแนะนำเนื้อหา ในช่วงต้นของรายการเด็ก กาลครั้งหนึ่ง โดยในเวลาดังกล่าว สัญญาณภาพที่กำลังออกอากาศ ก็หยุดลงและหายไป กลายเป็นสัญญาณว่าง (ภาพซ่า) จนกระทั่งเวลา 17.25 น. จึงเปลี่ยนเป็นแถบสีทดสอบ (Test Card) แบบ Colourredbar พร้อมเสียงทดสอบ อยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นในเวลา 17.28 น. ภาพหายไปเป็นสัญญาณว่างอีกครั้ง

ต่อมาเมื่อเวลา 17.32 น. กลับมามีภาพแถบสีในแนวตั้งตลอดทั้งหน้าจอ และบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น เพื่อทดลองเสียง และในเวลา 17.37 น. จึงกลับมาปรากฏไตเติลเปิดรายการ เรื่องเด่นเย็นนี้ และเข้าสู่รายการตามปกติ โดยออกอากาศจากชั้นล่างของอาคารปฏิบัติการออกอากาศ ด้วยการใช้รถถ่ายทอดสดเคลื่อนที่ (Outdoor Broadcaster - OB) นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกับทางสถานีฯ และยังเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ไทยด้วย[5]
เพลิงไหม้อาคารมาลีนนท์
ภาพแถบสีทดสอบ ที่ใช้ในวันที่ 20 พฤษภาคมเพียง 40 นาที
ภาพทดสอบ เพื่อเตรียมเริ่มทดลองออกอากาศ

สืบเนื่องจาก ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 กำลังทหารพร้อมรถหุ้มเกราะ เข้าสลายการชุมนุมของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน บริเวณแยกราชประสงค์ ส่งผลให้แกนนำต้องประกาศยุติการชุมนุม หลังจากนั้น มีผู้ก่อเหตุจลาจล ด้วยการวางเพลิงอาคารสำคัญหลายแห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร[6]

เวลาประมาณ 14.30 น.ของวันเดียวกัน มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่ง เข้าปิดล้อมและวางเพลิง บริเวณชั้นล่างของอาคารมาลีนนท์ รวมถึงรถยนต์ที่จอดไว้บนลานหน้าอาคาร บางส่วนขึ้นไปวางเพลิงบนลานจอดรถชั้น 4 และชั้น 6 พร้อมทั้งทุบทำลายทรัพย์สินบางส่วน และขัดขวางข่มขู่เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ไม่ให้เข้าไปควบคุมเพลิงได้ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารและพนักงานช่อง 3 ได้รับความช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ ให้ออกจากตัวอาคารอย่างปลอดภัย[7]14.30 ขณะออกอากาศ ละคร นางสาว เย็นฤดี เกิดภาพดับๆ ติดๆ จนเมื่อเวลา 15.52 น. ขณะออกอากาศรายการ ดาราการ์ตูน ช่วงที่สอง ไปได้ไม่กี่นาที ไทยทีวีสีช่อง 3 จึงต้องยุติการออกอากาศลงชั่วคราว โดยหน้าจอโทรทัศน์ แสดงภาพถ่ายดอกไม้ มีตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พร้อมตัวอักษร อ.ส.ม.ท. กำกับอยู่ช่วงล่างของตราสัญลักษณ์ ทั้งหมดอยู่เบื้องขวาของภาพ ต่อมา ภาพบนหน้าจอเครื่องรับก็ดับไปเป็นสีดำ จากนั้นปรากฏภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ [8]

หลังจากนั้นไม่นาน ภาพสัญญาณก็ดับไปอีก แต่หากรับชมผ่านระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง จะมีภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ ส่วนล่างของจอ ระบุข้อความ "สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" และมีเสียงดังปี๊บอยู่ตลอดเวลา [9] แต่หากชมผ่านดาวเทียมไทยคม ระบบซี-แบนด์ ซึ่งไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอยู่ในสองความถี่คือ ดาวเทียมไทยคม 2 ที่ความถี่ 3967/H/4550 (ปรากฏภาพเช่นเดียวกับการรับชมผ่านระบบยูเอชเอฟ) และดาวเทียมไทยคม 5 ที่ความถี่ 3803/V/4551 (ไม่มีสัญญาณ ปรากฏเป็นสีดำ) จากนั้น เมื่อเวลา 21.15 น. สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย รายงานข่าวว่า ในวันที่ 20 พฤษภาคม ไทยทีวีสีช่อง 3 จะงดการออกอากาศชั่วคราว เป็นเวลา 1 วัน

ต่อมา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม เวลา 16.05 น.ทางสถานีฯ เปลี่ยนภาพที่ส่งไปยังเครื่องรับ ให้เป็นภาพทดสอบแถบสีแนวตั้งตลอดหน้าจอ ส่วนขอบล่างของหน้าจอ ปรากฏข้อความ "ทดลองระบบออกอากาศ" พร้อมตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พร้อมตัวอักษร อ.ส.ม.ท. กำกับอยู่ช่วงล่างของตราสัญลักษณ์ ทั้งหมดอยู่ที่ โดยยังคงมีเสียงปี๊บดังเช่นเดิม เวลา 16.45 น.สถานีฯ ก็เปลี่ยนภาพกลับไปตามเดิม

เมื่อเวลา 10.15 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม เสียงปี๊บที่ดังอยู่ตลอดหยุดไป โดยทางสถานีฯ เปิดเพลงบรรเลงเพื่อทดสอบเสียง และเวลา 10.24 น.สถานีฯ เปลี่ยนไปส่งภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 พร้อมบอกเวลาถอยหลัง เพื่อเริ่มทดสอบสัญญาณออกอากาศ โดยมีตราสัญลักษณ์ของช่อง พร้อมข้อความ อ.ส.ม.ท.และโดเมนเนมของไทยทีวีสีช่อง 3 ลักษณะเดียวกับการออกอากาศตามปกติ ปรากฏอยู่ที่มุมขวาบนของจอ ก่อนที่ในเวลา 11.30 น.สถานีฯ จึงเริ่มทดสอบสัญญาณออกอากาศ โดยเริ่ม Ident เปิดสถานีฯ ตามด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อด้วยสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชุด "เพราะพ่อเหนื่อยหนักหนามามากแล้ว" รวมระยะเวลายุติการออกอากาศทั้งหมด 2 วัน 11 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นจึงเปลี่ยนภาพ เข้าสู่ห้องส่งข่าว เพื่อให้ นางสาวกรุณา บัวคำศรี ผู้รายงานข่าว ไทยทีวีสีช่อง 3 ประกาศเปิดสถานีฯ อย่างเป็นทางการ ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ "สวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมคะ ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะเริ่มทดลองระบบการออกอากาศของสถานีฯ ขอเชิญท่านผู้ชม ติดตามรายการต่างๆ ของเราได้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปค่ะ" จากนั้นจึงเริ่ม ภาพยนตร์ชุดตำนานรักดอกเหมย เสนอภาพยนตร์เกาหลีชุด สวรรค์ลิขิตรัก และมีข้อความปรากฏ ที่มุมซ้ายล่างของจอภาพว่า "ทดสอบระบบออกอากาศ" เมื่อภาพยนตร์เกาหลีชุด สวรรค์ลิขิตรัก จบลงในเวลาประมาณ 13.45 น. สถานีฯ ก็นำข้อความดังกล่าวออกไป

การกลับมาออกอากาศในระยะแรก ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รายการที่ออกอากาศยังไม่เป็นไปตามผังรายการปกติ มีการปิดสถานี และเปิดสถานีในเวลา 6.00 น. ของวันถัดไป [12] โดยในวันศุกร์ มีการปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศของรายการปกติตั้งแต่เริ่มเปิดสถานี (เวลา 11.30 น.) จนถึงช่วงบ่าย (รายการที่ปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศดังกล่าว ไม่มีโฆษณาสินค้าคั่นรายการ) วันเสาร์ที่ 21 และวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีการนำการ์ตูนเณรน้อยเจ้าปัญญา และภาพยนตร์ไทยมาออกอากาศตั้งแต่เริ่มเปิดสถานีในเวลา 6.00 น. จนถึงช่วงบ่ายโดยไม่มีโฆษณาสินค้าคั่นรายการ กระทั่งวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เวลา 6.00 น. เป็นต้นไป ทางสถานีจึงได้ออกอากาศรายการต่างๆ ตามผังรายการปกติ และออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีการปิดสถานี
รายการข่าว

ดูบทความหลักที่ ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ ครอบครัวข่าว 3

ในอดีต สถานีฯ เคยนำเสนอรายการข่าว ในรูปแบบการอ่านข่าวตามปกติ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2529 อ.ส.ม.ท.ลงนามในสัญญาร่วมกับ บริษัทฯ ในการให้สถานีฯ เชื่อมสัญญาณออกอากาศรายการข่าวในช่วงต่างๆ จากสำนักข่าวไทย ทางไทยทีวีสีช่อง 9 เป็นเวลา 5 ปี หลังจากนั้น อ.ส.ม.ท.จึงอนุญาตให้สถานีฯ กลับมานำเสนอข่าวของสถานีฯ เองตามปกติอีกครั้ง จนถึงทุกวันนี้

ต่อมา ราวปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา สถานีฯ ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการนำเสนอข่าว จากการอ่านข่าว มาเป็นการเล่าข่าว เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย และสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากขึ้น ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (สำนักข่าวบีอีซี) มีความมุ่งมั่นในการนำเสนอข่าวสารต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ ที่สถานีฯ เผยแพร่สู่ประชาชน โดยใช้ผู้ประกาศข่าวที่มีความเชี่ยวชาญ และเที่ยงตรงในการนำเสนอข่าว จนในที่สุด ก็นำไปสู่การร่วมกันจัดตั้ง กลุ่มผู้ประกาศข่าว และรายการข่าวว่า "ครอบครัวข่าว 3"
ตราสัญลักษณ์ของรายการข่าวและฝ่ายข่าว

ในระหว่างการออกอากาศรายการข่าวของสถานีฯ ในช่วงเวลาต่างๆ จะปรากฏตราสัญลักษณ์ของฝ่ายข่าว คือมีตัวอักษรภาษาไทย คำว่า ข่าว สีเหลือง ถัดไปทางขวา เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถานี ภายหลังแสดงโดเมนเนม www.becnews.com กำกับด้านล่างเป็นหลักในระยะแรก (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา จะยังใช้เฉพาะในช่วงข่าวด่วนเท่านั้น)

ภายหลังเมื่อมีการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ เป็นรายการย่อยต่างๆ เช่น ระเบียงข่าว 3, 180 วินาทีข่าว, นิวส์ออนทรี เป็นต้น จึงมีการออกแบบตราสัญลักษณ์เป็นของแต่ละรายการย่อยนั้นเอง ซึ่งนับเป็นสถานีแรก ที่สร้างเอกลักษณ์ของการนำเสนอกราฟิกบนหน้าจอ ในรูปแบบที่แตกต่างจากสถานีอื่นๆ

รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

ดูบทความหลักที่ รายชื่อรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ไทยทีวีสีช่อง 3 ถือเป็นผู้นำด้านละครโทรทัศน์ของประเทศไทย เนื่องจากเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชน เข้าเสนอผลงานผลิตละครโทรทัศน์หลากหลายแนว ในเวลาไพรม์ไทม์ ช่วงเย็นและหัวค่ำ นอกจากนี้ ยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีจำนวนผู้ประกาศข่าวมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง] และมีการนำเสนอข่าวถึงครึ่งหนึ่ง (12 ชั่วโมง) ของเวลาการออกอากาศทั้งหมด รวมถึงสถานีฯ ได้จัดซื้อระบบดิจิตอลนิวส์รูม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทันสมัย ที่ได้รับการพัฒนาระดับสูง มูลค่ากว่า 80 ล้านบาท จากบริษัท โซนี่ ไทย จำกัด มาใช้ในการผลิต และนำเสนอข่าวของสถานีฯ อย่างเต็มระบบ เป็นแห่งแรกในภาคพื้นเอเชีย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550[13] นอกจากนี้ ยังมีรายการโทรทัศน์หลากหลายประเภท ที่สร้างชื่อเสียงแก่สถานีอีกหลายรายการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้

ตลกรายวัน[14] (26 มีนาคม พ.ศ. 2513 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535) - รายการที่สองของสถานีฯ และเป็นรายการสุดท้ายของแต่ละวัน ตามผังรายการครั้งแรกของสถานีฯ มีเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องตลก ออกอากาศทุกวัน เวลา 11.00-12.00 น. ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ย้ายมาออกอากาศเวลา 21.00-22.00 น. แต่ในต่างจังหวัดยังออกอากาศเวลาเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2516 ออกอากาศเป็นสองช่วงเวลาคือ 20.30-22.00 น. และ 23.00-0.00 น. เฉพาะในกรุงเทพมหานคร และออกอากาศช่วงเดียว คือ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 23.00 น. อวสานสิ้นปี 2535
รับรางวัล (15 มกราคม พ.ศ. 2514) เกมโชว์รายการแรกของสถานีฯ ที่ในระยะแรกออกอากาศเป็นเวลา 10 นาทีของทุกวัน แต่เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมาก จนกระทั่งสถานีฯ ขยายเวลาในวันจันทร์-วันศุกร์ เป็น 30 นาที และวันเสาร์-วันอาทิตย์ เป็น 1 ชั่วโมง
เปาบุ้นจิ้น (พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2537) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมาก ในทั้งสองช่วงเวลา (พ.ศ. 2517 ออกอากาศทุกวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 19.00 น. และ พ.ศ. 2537 ออกอากาศทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 20.30 น.) โดยยุคแรกนั้น บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ถึงกับเกาะกระแสด้วยการออกผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก ในเครื่องหมายการค้า เปาบุ้นจิ้น เลยทีเดียว (ปัจจุบันใช้เพียงชื่ออย่างสั้นว่า เปา เท่านั้น) [ต้องการอ้างอิง]
ไฟพ่าย (1 กันยายน พ.ศ. 2519) ละครโทรทัศน์ยุคใหม่เรื่องแรกของสถานีฯ ผลงานของภัทราวดี มีชูธน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันพุธ เวลา 19.30-20.00 น. ด้วยแนวทางที่ให้ผู้แสดงศึกษาบทล่วงหน้า และจำบทเอง โดยไม่ต้องมีผู้บอกอยู่ข้างฉากเช่นในยุคก่อนหน้า มีการซักซ้อมล่วงหน้า และบันทึกเทปแทนการออกอากาศสด
กระบี่ไร้เทียมทาน (พ.ศ. 2523) ภาพยนตร์ชุดจีนที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมากอีกเรื่องหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ นำแสดงโดย ฉีเส้าเฉียน (เล่นเป็นตัวละครเอก ฮุ้นปวยเอี๊ยง) ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถึงกับนำกรณีที่ตัวละครในเรื่องนี้นัดหมายพิสูจน์วิชายุทธกัน มาขึ้นเป็นพาดหัวข่าวในหน้า 1 เลยทีเดียว
เณรน้อยเจ้าปัญญา (พ.ศ. 2526) ภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่น ที่สร้างโดยอิงจากชีวประวัติของพระอิกคิว โซจุน ได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชนเป็นอย่างมาก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเย็นๆ เนื่องจากความฉลาดรอบรู้ของเณรเด็ก อิกคิวซัง ตัวเอกของเรื่อง อีกทั้งยังมีคติสอนใจในทุกตอนอีกด้วย
ภาษาไทยวันละคำ (พ.ศ. 2527) รายการสอนภาษาไทย ในเชิงอธิบายความหมายของถ้อยคำสำนวนต่างๆ ดำเนินรายการโดย ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ซึ่งได้รับความสนใจ และเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมาก จากผู้ชมทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของรายการ(รายการนี้ถูกล้อเลียน โดยรายการเพชฌฆาตความเครียด ภายใต้ช่วงว่า "ภาษาไทยคำละวัน" ของ ปัญญา นิรันดร์กุล
ดูดีดีมีรางวัล (พ.ศ. 2531) นับเป็นควิซโชว์ตอบคำถามชิงรางวัลในยุคแรกๆ ที่เปิดรับผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านทั่วประเทศ เนื่องจากทางสถานีฯ กำลังเริ่มโครงการขยายเครือข่ายร่วมกับ อ.ส.ม.ท. จึงเกิดแนวคิดในการสมนาคุณตอบแทนแก่ผู้ชม ที่ติดตามชมรายการของสถานีฯ มาตลอด ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ และ หัทยา เกษสังข์ (ปัจจุบันนามสกุล วงศ์กระจ่าง)
ฝันที่เป็นจริง (พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2539) รายการที่นำเสนอวิถีชีวิตของบุคคล ผู้ต่อสู้กับชะตากรรมอันยากลำบาก ผ่านรูปแบบละครสั้น และปิดท้ายรายการด้วยการสนทนากับบุคคลเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งมอบร้านค้ารถเข็น ให้เป็นอุปกรณ์ดำรงชีพต่อไป ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของรายการ เป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ จนกลายเป็นพิธีกรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น โดยมีผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก บรีส เป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ
ทไวไลท์โชว์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2533) รายการวาไรตี้ทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ซึ่งในช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น ได้รับจัดสรรเวลาจากสถานีฯ ถึง 3 ชั่วโมง (15.00-18.00 น.) ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ แต่เพียงผู้เดียวมาตลอด 14 ปี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547
สีสันบันเทิง (พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน) ข่าวบันเทิงรายการแรกของสถานีฯ เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับรายการ แวด-วงบันเทิง ออกอากาศก่อนหน้าละครภาคค่ำทุกวัน เวลาประมาณ 20.20 น. ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ดำเนินรายการที่มีชื่อเสียงจากรายการนี้ อาทิ หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง, พรหมพร ยูวะเวส เป็นต้น
โต้คารมมัธยมศึกษา (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538) รายการแข่งขันโต้วาที สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ดำเนินรายการโดย กรรณิกา ธรรมเกษร และ จตุพล ชมภูนิช ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 11.30-12.30 น. เป็นรายการที่สร้างชื่อเสียงแก่นักพูดระดับประเทศ อาทิ สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ สุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ
เปิดอก (พ.ศ. 2536 -พ.ศ. 2539) วาไรตี้ทอล์คโชว์ แก้ไขปัญหาชีวิตครอบครัวและสังคม ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ จันทร์ และ อังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. ดำเนินรายการโดย ดวงตา ตุงคะมณี มยุรา เศวตศิลา ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ภาณุเดช วัฒนสุชาติ และเพลงไตเติ้ลรายการโดย เทียรี่ เมฆวัฒนา
มาสเตอร์คีย์ (พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน) เกมโชว์ในยุคใหม่ ที่ออกอากาศในช่วงกลางวัน (ปัจจุบันย้ายไปอยู่ช่วงเช้า) ดำเนินรายการโดย เมทนี บุรณศิริ และ สุเทพ โพธิ์งาม โดยทั้งสองเป็นพิธีกรตั้งแต่ครั้งแรกของรายการจนถึงต้นปี 2553
168 ชั่วโมง (พ.ศ. 2538) วาไรตี้โชว์สำหรับคนนอนดึก ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 00.00-00.30 น. ดำเนินรายการโดย จอนนี แอนโฟเน่, วิบูลย์ ลีรัตนขจร, วุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี, โบ๊ท วิบูลย์นันท์ และ พีรพล เอื้ออารียกูล
ตีสิบ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน) วาไรตี้ทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.30-00.30 น. ปัจจุบันมีระดับความนิยมของผู้ชม (เรตติ้ง) มากที่สุดของสถานีฯ รองจากรายการประเภทละคร มีช่วงดันดาราที่มีชื่อเสียง ดำเนินรายการโดย วิทวัส สุนทรวิเนตร์, กฤตธีรา อินพรวิจิตร และ คืนสิทธิ์ สุวรรณวัฒกี
ซือกง (พ.ศ. 2541 - ปลายปี พ.ศ. 2542) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.30-19.30 น. สถานีฯ ทำประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ชุดนี้ ด้วยคำขวัญซึ่งเป็นที่นิยมในระยะต่อมาว่า "อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล"
เกมเศรษฐี (4 มีนาคม พ.ศ. 2543) ควิซโชว์รูปแบบตอบคำถาม รายการแรกของประเทศไทย มีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท เพียงตอบคำถามได้ถูกต้องทั้ง 16 ข้อ ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ต่อมาย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547
กำจัดจุดอ่อน (7 มีนาคม พ.ศ. 2545) ควิซโชว์ตอบคำถาม ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ต้องออกจากการแข่งขันไปทีละคน มีลักษณะเด่นที่ผู้ดำเนินรายการจะใช้วาจาเชือดเฉือนผู้เข้าแข่งขัน ด้วยน้ำเสียงกระด้างและเรียบเฉย จึงมีผู้วิจารณ์ว่าไม่เหมาะกับสังคมไทย ดำเนินรายการโดย กฤษติกา คงสมพงษ์
รักใสใส หัวใจ 4 ดวง (พ.ศ. 2545) ภาพยนตร์ชุดไต้หวัน นำแสดงโดย กลุ่มศิลปินเอฟโฟร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในไต้หวันและเมืองไทย
เรื่องเล่าเช้านี้ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) เป็นรายการนำเสนอข่าวที่ใช้รูปแบบการเล่าด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เปลี่ยนไปจากการนั่งอ่านข่าวจากสคริปต์ในรูปแบบเดิม ดำเนินรายการโดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ และ เอกราช เก่งทุกทาง
แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง (พ.ศ. 2548 - ต้นปี พ.ศ. 2549) ภาพยนตร์ชุดจากเกาหลีใต้ เรื่องแรกของสถานีฯ ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 18.00-20.00 น.
อัจฉริยะข้ามคืน (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 7 มกราคม พ.ศ. 2551) รายการเรียลลิตี้ควิซโชว์รายการแรกของไทย มีจุดเด่นที่เกมการแข่งขันที่ต้องใช้การวิเคราะห์โจทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะเกมที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นั้นคือ เกมถอดรหัสลับอัจฉริยะ ดำเนินรายการโดย แทนคุณ จิตต์อิสระ และ ปัญญา นิรันดร์กุล
ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 29 เมษายน พ.ศ. 2553) ควิซโชว์ที่ผู้ร่วมรายการต้องแข่งขันตอบคำถามกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จึงเป็นที่นิยมเนื่องจากผู้ชมเอ็นดูในความฉลาดและน่ารักของเด็กๆ ดำเนินรายการโดย กนิษฐ์ สารสิน
ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ (6 มีนาคม พ.ศ. 2554 - ) เรียลลิตี้โชว์ประกวดความสามารถหลากหลายรูปแบบ ไม่จำกัดอายุ เพศ จำนวน ประเภทของโชว์ โดย บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ซื้อลิขสิทธิ์การประกวดบริเทนส์กอตแทเลินต์ จากประเทศอังกฤษ มาออกอากาศในประเทศไทย โดยมี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการผลิตรายการ (ชื่อเต็ม : ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์บันดาลชีวิต โดยซันซิลและเรโซนา)

ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร

ดูบทความหลักที่ รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ในอดีต

นลธวัช พรหมจินดา (ปัจจุบันอยู่ ช่อง 5)
พรหมพร ยูวะเวส (ปัจจุบันอยู่ ช่อง 5)
ธีระ ธัญญอนันต์ผล (1 มกราคม 2551 - 30 กรกฎาคม 2551) เที่ยงวันทันเหตุการณ์ (ปัจจุบันอยู่ โมเดิร์นไนน์ ทีวี)
ศศิวรรณ์ เลิศวิริยะประภา (1 กุมภาพันธ์ 2551 - 31 พฤษภาคม 2552) ข่าวในพระราชสำนัก และ ข่าววันใหม่ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
จินดารัตน์ เจริญชัยชนะ (ปัจจุบันอยู่ เอเอสทีวี)
โศธิดา โชติวิจิตร (ตั้งแต่วันปีใหม่ 2553 ลาออก)
นวนันท์ บำรุงพฤกษ์ ( ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว (ปัจจุบันอยู่ช่องโมเดิร์นไนน์)
ตรงศรม์ มณีชาตรี (ปัจจุบันอยู่ ดี-สเตชัน)
เชาวลิต ศรีมั่นคงธรรม (ปัจจุบันอยู่ในรายการ หมอชิตติดจอ ทางช่อง 7 และ สทท.)
ภาณุพล เอกเพชร (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ (ปัจจุบันอยู่ทรูอินไซด์)
ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (ปัจจุบันอยู่ในรายการบันเทิง 5 หน้า 1 ทางช่อง 5)
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (ปัจจุบันอยู่วอยซ์ ทีวี)
มารุต ชื่นชมบูรณ์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
แอนดี้ เขมพิมุก (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)

พิธีกร

มีสุข แจ้งมีสุข - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
พัชรศรี เบญจมาศ - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
พิมลวรรณ หุ่นทองคำ - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
ปราย ธนาอัมพุช - แจ๋ว
อภิสรา นุตยกุล - แจ๋ว
วราภรณ์ สมพงษ์ - แจ๋ว
ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ - แจ๋ว
สมาพร ชูกิจ - แจ๋ว
พีรพล เอื้ออารียกูล - ชอตเด็ด กีฬาแชมป์

ดาราและนักแสดง
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)

นักแสดงชาย



นักแสดงหญิง

กฤษฎา พรเวโรจน์
กานต์ อรุณเรืองสวัสดิ์
การิน ศตายุส์
เกียรติกมล ล่าทา
โกสินทร์ ราชกรม
โฆษวิส ปิยะสกุลแก้ว
จักรพันธ์ จันโอ
จิรายุ ตันตระกูล
ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ
โชคชัย บุญวรเมธี
ชาวดิน รัฐกาญจน์
ฐากูร การทิพย์
ณัชร นันทโพธิ์เดช
ณัฐนันท์ จันทรวิโรจน์
ณัฐวุฒิ สกิดใจ
ณัฐฐพนธ์ ลียะวณิช
ณัฐรัฐ โมริส เลอกรอง
ณเดชน์ คูกิมิยะ
ดนัย จารุจินดา
ทฤษฎี สหวงษ์
ธนธร ศวัสกร
ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
ธนา เอี่ยมนิยม
ธนากร โปษยานนท์
ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
นพพล โกมารชุน



นิธิ สมุทรโคจร
ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์
ปริญ สุภารัตน์
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
พศุตม์ บานแย้ม
พัชฎะ นามปาน
พิษณุ นิ่มสกุล
ภัทรภณ โตอุ่น
ภูภูมิ พงศ์ภานุ
มาริโอ้ เมาเร่อ
ยรรยงค์ คำสุขใส
รวิชญ์ เทิดวงส์
วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
วรฤทธิ์ ไวยเจียรนัย
วรวัฒน์ ล้อรัตนชน
วรินทร ปัญหกาญจน์
วริษฐ์ ทิพโกมุท
วิทยา วสุไกรไพศาล
วิลลี่ แมคอินทอช
วีรดนย์ หวังเจริญพร
ศรัณยู ประชากริช
สราวุธ มาตรทอง
สรวิชญ์ สุบุญ
สุรินทร คารวุตม์
หลุยส์ สก๊อต
อธิชาติ ชุมนานนท์
อเล็กซานเดอร์ เรนเดลล์
เอกพงศ์ จงเกษกรณ์



กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ
เข็มอัปสร สิริสุขะ
คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ
จริยา แอนโฟเน่
จอมขวัญ ลีละพงศ์ประสุต
จิตตาภา แจ่มปฐม
จินตหรา สุขพัฒน์
เจนสุดา ปานโต
เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ
ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง
ซาร่า เล็กจ์
เซลิน่า เพียซ
โชติกา วงศ์วิลาศ
เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
ณัฐวรา วงศ์วาสนา
ณฐพร เตมีรักษ์
ณปภา ตันตระกูล
ณิชชาพัณณ์ ชุณหะวงศ์วสุ
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
ธัญญาเรศ เองตระกูล
ธนิดา กาญจนวัฒน์
ปณิตา พัฒนาหิรัญ
ปิยะดา ตุรงคกุล
เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์
พรชิตา ณ สงขลา
พริมรตา เดชอุดม
พรรณชนิดา ศรีสำราญ
พรรษชล สุปรีย์
พัชรินทร์ จัดกระบวนพล
พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์



เพชรลดา เทียมเพ็ชร
ภัณฑิลา ฟูกลิ่น
ภีรนีย์ คงไทย
มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
มณีรัตน์ คำอ้วน
มารี เบิร์นเนอร์
มิณฑิตา วัฒนกุล
มิรา โกมลวณิช
รัชวิน วงศ์วิริยะ
ราศรี บาเลนซิเอก้า
รินลณี ศรีเพ็ญ
ลักษณ์นารา เปี้ยทา
ลลิตา ปัญโญภาส
วิรากานต์ เสณีตันติกุล
เวธกา ศิริวัฒนา
ศรีริต้า เจนเซ่น
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
สกาวใจ พูนสวัสดิ์
สุคนธวา เกิดนิมิตร
สุนิสา เจทท์
สุมณทิพย์ เหลืองอุทัย
สุษิรา แอนจิลีน่า แน่นหนา
หยาดทิพย์ ราชปาล
อังคณา แซ่หลี
อัมราภัสร์ จุลกะเศียน
อารยา เอ ฮาร์เก็ต
อิศริยา สายสนั่น
อุรัสยา เสปอร์บันด์
แอน ทองประสม
ไอยวริญท์ โอสถานนท์

ในอดีต

กรรชัย กำเนิดพลอย
กษมา นิสสัยพันธุ์
กิตติคุณ สัมฤทธิ์พันธุ์สุข
กิตติพันธุ์ พุ่มสุโข
เกรียงไกร อุณหะนันทน์ (อิสระ)
จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
ดอม เหตระกูล
ดิลก ทองวัฒนา (อิสระ)
ตฤณ เศรษฐโชค (อิสระ)
ทูน หิรัญทรัพย์
บัณฑิต สาวแก้ว
ไบรอน บิชอพ
พล ตัณฑเสถียร
พลรัตน์ รอดรักษา
พลวัฒน์ มนูประเสริฐ
รอน บรรจงสร้าง
ไรอัน เจทท์
ศรัณยู วงศ์กระจ่าง
ศานติ สันติเวชกุล
ศิระ แพทย์รัตน์
สถาพร นาควิลัย
อรรถชัย อนันตเมฆ
อาเธอร์ ปัญญโชติ
อานนท์ สุวรรณเครือ
เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์



กมลชนก โกมลฐิติ
กาญจนา จินดาวัฒน์
ก้ามปู สุวรรณปัทม์
ขวัญฤดี กลมกล่อม (อิสระ)
คลาวเดีย จักรพันธุ์
จันทร์จิรา จูแจ้ง
ชิดจันทร์ รุจิพรรณ
ชุดาภา จันทเขตต์
ตรีรัก รักการดี
ทัศนพรรณ สิริสุขะ
นาถยา แดงบุหงา
ปภัสรา ชุตานุพงษ์
ปรารถนา สัชฌุกร
ปาริฉัตร สัชฌุกร
ปวันรัตน์ นาคสุริยะ (อิสระ)
ปาหนัน ณ พัทลุง
พาเมล่า เบาว์เด้นท์
พิมพรรณ จันทะ
เพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทร
ราตรี วิทวัส (อิสระ)
รามาวดี สิริสุขะ
รัชนก พูลผลิน
ลดา เองชวเดชาศิลป์
วรรณิศา ศรีวิเชียร
ศิริลักษณ์ ผ่องโชค (อิสระ)
สายธาร นิยมการณ์
สิรินยา เบอร์บริดจ์
สิริยากร พุกกะเวส
สุนทรี ละม่อม
อภิชญา ปิยะนุวัฒน์ชัย
อาทิตยา ดิถีเพ็ญ
อินทิรา แดงจำรูญ
อุทุมพร ศิลาพันธ์ (อิสระ)
แอนเน็ท เธท

ช่อง5















สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ชื่อย่อ: ททบ.5) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยระบบดิจิตอล โดยมี กองทัพบกไทย ในนาม บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิม: บริษัท ททบ.5 จำกัด (มหาชน) ) เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานคณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และ พลโทฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นผู้อำนวยการสถานีฯ

ประวัติสถานี
ก่อนกำเนิด (พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2500)

ในราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมได้ออกข้อบังคับ เกี่ยวกับการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่ในส่วนกองทัพบก โดยกำหนดให้ กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัด สส. จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ทางภาคพื้นดิน ผลิต และถ่ายทอดรายการโทรทัศน์

จากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก ประกอบด้วย พลเอกไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ พันเอกการุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการด้านวิทยุโทรทัศน์ อีกทั้งยังมีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้า สนามเป้า ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท
เริ่มออกอากาศ (พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2510)

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นครั้งแรก จากอาคารสวนอัมพร โดยใช้ระบบ เอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ ถือเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองในประเทศไทย ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4

ต่อมา เมื่อก่อสร้างอาคารสถานีฯ เสร็จสมบูรณ์ จึงได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์ และวันศุกร์ เป็น 3 วันต่อสัปดาห์ ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมาก เป็นสารคดี และภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้น ในปี พ.ศ. 2506 เริ่มตั้งสถานีทวนสัญญาณขึ้นเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ ในการถ่ายทอดสัญญาณ การฝึกของทหารในยามปกติ ซึ่งใช้ชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ ได้เริ่มการจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ ทอดพระเนตรกิจการของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นอกจากนี้ ได้เริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก เอฟเอ็ม 94.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ ในปีเดียวกัน โดยในระยะแรก เป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ.
ก่อตั้ง (พ.ศ. 2511-พ.ศ. 2517)

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 ช่องในขณะนั้น ก่อตั้ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยยกเลิกการใช้เครื่องทราสเลเตอร์ เปลี่ยนมาเป็นระบบไมโครเวฟแทน
เปลี่ยนชื่อ,เปลี่ยนระบบเส้น (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2520)

จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ททบ.ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่ วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ในระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นครั้งแรก ด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ จากลานพระราชวังดุสิต ต่อจากนั้นทางสถานีจึงมีการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานี เพื่อให้สอดคล้องในการบริหารงานของสถานี ซึ่งตรานี้ ก็ยังคงใช้จนถึงปัจจุบันนี้
เช่าดาวเทียม (พ.ศ. 2521–พ.ศ. 2530)

ททบ.5 ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาป้า (PALAPA) ของอินโดนีเซีย พร้อมกับการตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มมีห้องส่งในส่วนภูมิภาค โดยภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ขยายเครือข่าย (พ.ศ. 2531–พ.ศ. 2540)

ช่วงทศวรรษนี้ ททบ.5 ขยายสถานีเครือข่าย ในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังนี้

ระนอง
ตรัง
ตราด
นครศรีธรรมราช
น่าน
ชุมพร
พิษณุโลก
ร้อยเอ็ด
ขอนแก่น
ระยอง
ชลบุรี
เลย
เพชรบูรณ์
สระแก้ว
แพร่
เบตง ยะลา



สุราษฎร์ธานี
ภูเก็ต
เชียงราย
บุรีรัมย์
สกลนคร
ประจวบคีรีขันธ์
ลำปาง
หนองคาย
มุกดาหาร
นราธิวาส
ยะลา
ชัยภูมิ
แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน
ปาย แม่ฮ่องสอน
พะเยา

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2538 ททบ.5 เปิดให้บริการเว็บไซต์ของสถานีฯ โดยใช้โดเมนเนม www.tv5.co.th ที่มีระบบโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ ได้นำเฮลิคอปเตอร์ติดกล้องวิดีโอ รถถ่ายทอดเคลื่อนที่ผ่านระบบดาวเทียม (Digital Satellite News Gathering ชื่อย่อ: D-SNG) มาใช้กับการถ่ายทอดสด การรายงานข่าว การรายงานข่าวด่วน เป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2539 ททบ.5 เป็นผู้นำการผลิตและควบคุมการออกอากาศด้วยระบบดิจิตอลมาใช้ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 ททบ.5 เริ่มต้นออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีแรกในประเทศไทย
ออกอากาศ Thai TV Global Network (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2550)

เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ททบ.5 เป็นองค์กรหนึ่งที่ต้องปรับตัวให้ดำรงอยู่ แต่ท่ามกลางวิกฤตดังกล่าว กลับเป็นโอกาสให้ ททบ.5 แสดงศักยภาพซึ่งปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

ออกอากาศสัญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตอล สู่คนไทยทั่วโลกตามโครงการ ไทยทีวีโกลบอลเน็ทเวิร์ค หรือ Thai TV Global Network ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันสามารถรับชมได้ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก การก่อสร้างอากคารที่ทำการและสถานีโทรทัศน์หลัก แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 ต้อนรับในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. 5 นับเป็นอาคารที่รวมส่วนบริหาร ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุน ไว้ในสถานที่เดียวกัน มีห้องส่งโทรทัศน์ที่ทันสมัยถึง 4 ห้อง ร่วมกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ในการถ่ายทอดสดพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี 9 มิถุนายน 2549 และในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา เริ่มการก่อสร้างอาคารสำนักงานเพิ่มเติมและอาคารจอดรถ มูลค่า 50 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551
ซื้อระบบออกอากาศใหม่ (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

จัดซื้อระบบการออกอากาศใหม่ (วิชวลสตูดิโอ Visual Studio และ วิดีโอวอลล์ Video Wall) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดง แต่ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนอีกครั้งเป็นสีเขียวแทน เนื่องจากสีแดงเป็นสีไม่ดีและประชาชนอาจมองข้างได้ว่า ททบ.5 เป็นของ นปช. และสีเขียวยังเป็นสีของกองทัพบก (ช่วงงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระพี่นางฯ ใช้สีน้ำเงิน) กราฟิกเข้าข่าว รูปแบบที่ 1 บนกราฟิกเข้าข่าวจะเป็นวงกลมสีแดงมีตัวเลข5อารบิคอยู่ตรงกลางถัดมาด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษ news ประกอบอยู่ ถัดมาด้านนอกวงกลมมีวงแหวน 2 วงล้อมรอบ ต่อมาเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีเขียว ระยะที่ 2 ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบโดยมีลักษณะคล้ายรูปแบบเดิมแต่เพิ่มลูกเล่นบนกราฟิกให้ดูโดดเด่นและปรับเป็นสีเขียวแก่แต่ต่อมาได้ปรับรูปแบบเพียงแต่เปลี่ยนเป็นเลข ๕ ไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษ "NEWS" เป็นภาษาไทย "ข่าว" เนื่องจากนโยบายของ ททบ.5 ต้องการอนุรักษ์ภาษาไทย

ในปี พ.ศ. 2553 จะมีการสร้างสำนักงานแห่งใหม่

รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่มที่ รายการการ์ตูนที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

เด็กไทยต้องเป็นเด็กดี (พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2548) รายการเด็กรายการแรกของสถานีฯ ที่ในระยะแรกออกอากาศในเวลา 10 นาทีของทุกวัน ต่อมาออกอากาศในวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ เวลา 17.25 น.
ป๊อบท็อป รายการวาไรตี้เกมโชว์รายการแรกของสถานี จัดโดย พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง
ครอบจักรวาล รายการสารคดีปกิณกะ ว่าด้วยการท่องเที่ยวและแนะนำอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ ผลิตโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดถนัดศรี ดำเนินรายการโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
พิภพมัจจุราช ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
หุ่นไล่กา ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
แคนดี้ ภาพยนตร์การ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูง
ผึ้งน้อยพเนจร ภาพยนตร์การ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูง
เออิชิสมองกล ภาพยนตร์การ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูง
โลกดนตรี (พ.ศ. 2514-พ.ศ. 2540) คอนเสิร์ตทางโทรทัศน์ที่ออกอากาศมานาน ถ่ายทอดสดทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
การบินไทยไขจักรวาล (พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2548) รายการตอบปัญหาเยาวชนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ถ่ายทอดสดจากห้องส่งของสถานีฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากการบินไทย ดำเนินรายการโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
สโมสรผึ้งน้อย (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2537) รายการสำหรับเด็กรายการแรก ดำเนินรายการโดย น้านิด-พัทจารี อัยศิริ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 16.30 น. มีสมาชิกที่อยู่วงการบันเทิงอย่างยาวนานคือ จอย-ศิริลักษณ์ ผ่องโชค และวงดนตรีเอกซ์วายแซด
รวมดาวสาวสยาม (พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2540) รายการปกิณกะเพลงลูกทุ่งรายการแรกที่พลิกโฉมวงการโทรทัศน์ จัดโดย วิญญู จันทร์เจ้า ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.30-15.00 น. ก่อนจะย้ายเป็นวันจันทร์เว้นจันทร์ เวลาเย็น
พลิกล็อก (พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2532) เกมโชว์ในยุคแรกของเจเอสแอลที่มีชื่อเสียง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 น. ต่อมาเจเอสแอลนำชื่อรายการและรูปแบบเกมกลับมาผลิตใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541
สงครามชีวิตโอชิน (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2528) ภาพยนตร์โทรทัศน์ยอดนิยม ที่ผลิตโดยเอ็นเอชเคของญี่ปุ่น ซึ่งรัชฟิล์มทีวีนำมาเสนอฉายเป็นครั้งแรก และต่อมา ไทยทีวีสีช่อง 3 นำมาออกอากาศอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2553
มาตามนัด (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2538) เกมโชว์ที่ออกอากาศช่วงหลังข่าวภาคค่ำเป็นรายการแรกของสถานีฯ และมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ ผลิตโดยรัชฟิล์มทีวี ยุคที่สองซึ่งมีชื่อเสียงมากที่สุด ดำเนินรายการโดย เศรษฐา ศิระฉายา และญาณี จงวิสุทธิ์
ซีอุย (พ.ศ. 2527) ละครสำหรับผู้ใหญ่เรื่องแรกๆ ผลิตโดยกันตนา ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 15.30 น.
ไอคิว 180 (พ.ศ. 2528-พ.ศ. 2541) รายการตอบปัญหาเยาวชน โดยสุ่มตัวเลขมาเป็นโจทย์ให้นักเรียนคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือซีเมนต์ไทย ดำเนินรายการโดย ดร.ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.30 - 19.00 น. ต่อมาเปลี่ยนเป็นช่วงเย็นวันธรรมดา และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ในเวลาต่อมา
คอนเสิร์ต คอนเทสต์ (พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2531) รายการประกวดร้องเพลงและการแสดงจากศิลปินต้นแบบ เพื่อชิงแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 - 14.00 น.
แบบว่า...โลกเบี้ยว (พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2546) รายการมิวสิกวิดีโอสลับการแสดงตลก โดยภิญโญ รู้ธรรมและคณะ ผลิตโดย แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ต่อมาโอนให้บริษัทลูก ทีนทอล์ค) ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 น. ก่อนจะย้ายเป็นทุกวันพุธ เวลาบ่าย
ยุทธการขยับเหงือก (พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2540) รายการตลกปัญญาชนของเจเอสแอล โดยกำหนดให้พิธีกรรายการทุกคนมีคำนำหน้าชื่อเล่นว่า "เสนา"
เกมเผาขน (2 มกราคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) รายการเกมโชว์อันประสบการณ์ร้อนแรง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 - 18.00 น.
ถ่ายทอดข่าวจากซีเอ็นเอ็น (พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2535) รายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ จากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาเช้า เป็นช่วงก่อนจะมีรายการ บ้านเลขที่ 5
เจาะใจ (3 มกราคม พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน) รายการทอล์คโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ย้ายวันออกอากาศ ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.35-23.40 น. ยุคแรกที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ดำเนินรายการโดย ดำรง พุฒตาล และ สัญญา คุณากร
โรงเรียนของหนู (พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2546) เป็นรายการสำหรับเด็กในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้ข้างมากได้ช่วยเหลือเพื่อเป็นทุนการศึกษา ออกอากาศทุกเย็นวันพฤหัสบดี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางเนชั่น แชนแนล จนถึงปัจจุบัน
บ้านเลขที่ 5 (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2549) รายการที่มีผู้ชมมากที่สุดในระยะ 10 ปีแรก ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.30 น. ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสยามทูเดย์ และย้ายเวลาไปเป็นช่วงเย็น ปัจจุบันยุติรายการแล้ว
รักในรอยแค้น (3 มกราคม–25 เมษายน พ.ศ. 2535) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของเอ็กแซ็กท์ นำแสดงโดย ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง และนุสบา วานิชอังกูร โดยในปี พ.ศ. 2545 เอ็กแซ็กท์นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของละครเรื่องนี้ นำแสดงโดย ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ และเอวิตรา ศิระสาตร์
ตามล่าหาความจริง (พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2545) รายการสารคดีเชิงข่าวรายการแรกๆ ของแปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น ดำเนินรายการโดย ประไพพัตร โขมพัตร
ระเบิดเถิดเทิง (7 มกราคม พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน) ซิทคอมเกมโชว์ที่อายุยาวนานที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในวันอาทิตย์ เวลา 16.00 - 17.00 น. ปัจจุบันออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00 - 15.25 น.
เกมจารชน (16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2548) เกมโชว์แนวสายลับรายการแรก และได้รับรางวัลเอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ด สาขาเกมโชว์ยอดเยี่ยม เป็นรายการแรกของไทย ดำเนินรายการโดย ศัลย์ อิทธิสุขนันท์, มยุรา เศวตศิลา, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2543), โหน่ง ชะชะช่า (พ.ศ. 2543-พ.ศ. 2548)
ไฟว์ไลฟ์ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน) รายการเพลงสำหรับวัยรุ่นนอนดึก ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 00.30-01.30 น. (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นทุกวันอังคาร-ศุกร์ เวลาเดียวกัน)
แฟนพันธุ์แท้ (1 กันยายน พ.ศ. 2543 - 17 เมษายน พ.ศ. 2552) รายการควิซโชว์ท้าทายความรู้ ความสามารถ ไหวพริบ และปฏิภาณ ในเรื่องราวที่ผู้แข่งขันชื่นชอบ เพื่อพิสูจน์ความเป็นแฟนพันธุ์แท้ตัวจริง ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล (ต่อมาเปลี่ยนเป็น แทนคุณ จิตต์อิสระ และ เอก ฮิมสกุล)
ที่นี่..ประเทศไทย (2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547) รายการวาไรตี้ เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยในเรื่องต่างๆ ของ บมจ.มีเดีย ออฟ มีเดียส์ ยุคบริหารโดย โฆสิต สุวินิจจิต และ ยุวดี บุญครอง ดำเนินรายการโดย ลอร่า-ศศิธร รามโกมุท วัฒนกุล และ แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 21.15-22.00 น.
ข่าว 5 หน้า 1-สนามเป้าข่าวเที่ยง-ฮาร์ดคอร์ข่าว (1 มกราคม 2553 - ปัจจุบัน) รายการข่าวแบบสามมิติรายการแรกของสถานีฯ ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์
กามิกาเซ่ คลับ (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) รายการอัปเดตเสนอข่าวสารเกี่ยวกับนักร้อง และมิวสิกวิดีโอ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15.45 - 16.30 น.
ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์ (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) รายการเกมโชว์พิสูจน์ความรัก มีช่วงเกมการแข่งขันของคู่ดารา และช่วงการขอแต่งงานจากทางบ้าน ออกอากาศทุกคืนวันจันทร์ เวลา 22.35 น.
เกมเนรมิต (8 มกราคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) รายการเรียลลิตี้เกมโชว์ภารกิจสร้างบ้าน ชิงของรางวัลสูงสุดเป็นบ้านนวัตกรรมพร้อมที่ดิน มูลค่า 12 ล้านบาท ออกอากาศทุกคืนวันเสาร์ เวลา 22.25 น.
ซิสเตอร์ เดย์ รายการวาไรตี้ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 14.45 - 15.35 น. ดำเนินรายการโดย คริส หอวัง ปาณิสรา พิมพ์ปรุ จรินทร์พร จุนเกียรติ และเจนสุดา ปานโต

ช่อง7

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7 สี) เป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก ถือเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เป็นผู้นำด้านรายการละคร และรายการกีฬา ในประเทศไทย มีคำขวัญว่า “ช่องเจ็ดสี ทีวีเพื่อคุณ”
ประวัติ

บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สองวันก่อนหน้าที่จะร่วมมือกับกองทัพบก เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์สี ตามมติและนโยบายของ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ในสมัยที่ จอมพล ประภาส จารุเสถียร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เริ่มทำการทดลองออกอากาศโทรทัศน์สี โดยใช้มาตรฐานการออกอากาศ ซีซีไออาร์ 625 เส้น ในระบบพาล (PAL) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ด้วยการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานวชิราวุธานุสรณ์ จากพระราชวังสราญรมย์ โดยใช้ชื่อว่า “สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7”

จากนั้น จึงเปิดสถานีออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ทำสัญญามอบเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ ให้แก่กองทัพบก พร้อมทั้งทำสัญญาเช่า เพื่อดำเนินการบริหารสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยในช่วงแรกของการดำเนินงาน สถานีฯ ใช้ห้องส่งร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกไปพลางก่อน ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ก็นำไปติดตั้งในรถประจำทางเก่า จำนวน 3 คัน โดยรื้อที่นั่งออกทั้งหมด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 จึงย้ายเข้าไปยังอาคารที่ทำการถาวร บริเวณด้านหลังสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) แห่งเก่า (ปัจจุบันคืออาคารศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส และลานจอดรถของสถานีสวนจตุจักร) และด้านข้างอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2521 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายของทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเช่าสัญญาณดาวเทียมนานาชาติ (อินเทลแซท) ถ่ายทอดเหตุการณ์จากทั่วโลกมายังไทย ในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ได้ริเริ่มใช้รถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียม ใช้ย่านความถี่สูง (เคยู-แบนด์) และ รถถ่ายทอดนอกสถานที่ (โอ.บี.) ใช้ย่านความถี่ ซี-แบนด์ ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายชั่วคราว ถ่ายทอดสดงานประเพณีที่น่าสนใจ กีฬานัดสำคัญ และเหตุการณ์ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

ดูบทความหลักที่ รายชื่อรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

รายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน

ดูบทความหลักที่ ฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ข่าวภูมิภาค สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และ รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จัดตั้งฝ่ายข่าวขึ้น พร้อมกับการเปิดดำเนินงานของสถานีฯ มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง ปัจจุบัน รายการข่าวของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่นิยมเรียกกันว่า ข่าวเด็ดเจ็ดสี นำเสนอข่าวสาร แบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ผ่านช่วงข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยง ข่าวภาคค่ำ เด็ดข่าวดึก รวมถึงข่าวสั้น ซึ่งทำหน้าที่กระจกเงา สะท้อนวิถีชิวิตและสภาพปัญหา ของประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ ผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น ข่าวช่วยชาวบ้าน สกู๊ปชีวิต ด้วยลำแข้ง รายงานของนายคำรณ หว่างหวังศรี ตลอดจนช่วงสะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ ในข่าวภาคค่ำ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังได้รับความนิยมจากผู้ชม

ตั้งแต่ วันที่ 19 เมษายน 2553 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ข่าวภาคค่ำช่อง 7 ทั้ง 2 ช่วง ได้มีเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 100ล้านบาท นั่นก็คือการเสนอข่าวรูปแบบใหม่และฉากข่าวใช้ระบบเวอร์ชวล สตูดิโอ เป็นฉากข่าวใหม่ของช่อง 7 ทั้งเปลี่ยนไตเติ้ลข่าวภาคค่ำและช่วงข่าว ข่าวแถบตัววิ่ง หัวข้อข่าว และข่าวพาดหัวแต่ยังเพลงประกอบเข้าข่าวภาคค่ำยังใช้แบบเดิมอยู่จะเห็นได้ว่าทุกๆช่วงข่าวกราฟิกต่างๆ จะมีความทันสมัยโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอีกทั้งช่องเจ็ดสียังคงมีการเกาะติดสถานการณ์ต่างๆที่ประชาชนให้ควมสนใจโดยผ่านทีมข่าวมืออาชีพ

ตลอดระยะเวลาประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายข่าวของสถานีฯ เก็บรักษาและรวบรวมแฟ้มข่าวในประเทศ และแฟ้มภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) ข่าวในประเทศ อันมีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก มีระบบการจัดเก็บและดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน จนมีการก่อตั้ง "ศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์" ของสถานีฯ ขึ้นเพื่อให้บริการแฟ้มข่าว และแฟ้มภาพข่าวดังกล่าว แก่สถานีโทรทัศน์และสำนักข่าวต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ ทางสถานีฯ ยังริเริ่มจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้น โดยมีอุปกรณ์เทคโนโลยีอันทันสมัยครบครัน เพื่อรายงานข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ผู้ชมทั่วประเทศรับชมได้พร้อมกัน

โดยทั้งฝ่ายข่าวส่วนกลาง และศูนย์ข่าวภูมิภาค ต่างประกอบไปด้วยผู้ประกาศข่าวซึ่งมีชื่อเสียงหลายคน เช่น จักรพันธุ์ ยมจินดา ศันสนีย์ นาคพงศ์ พิษณุ นิลกลัด ศศินา วิมุตตานนท์ จรณชัย ศัลยพงศ์ นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง พิสิทธิ์ กีรติการกุล เอกชัย นพจินดา วีระศักดิ์ นิลกลัด ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร อดิสรณ์ พึ่งยา สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา ภัทร จึงกานต์กุล นารากร ติยายน อนุวัต เฟื่องทองแดง ศจี ชลายนเดชะ เป็นต้น[2] และผู้สื่อข่าวคุณภาพ ซึ่งรายงานข่าวต่างๆ ภายใต้แนวนโยบายเชิงวิสัยทัศน์ ในอันที่จะรายงานข่าวอย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง เป็นข่าวยอดนิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง ตลอดจนสะท้อนเรื่องราวหรือปัญหาต่างๆ จากมุมมองของประชาชนทั่วไป
ละครโทรทัศน์

ดูบทความหลักที่ รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ถือเป็นผู้นำของการนำเสนอรายการละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นด้วยการนำเสนอละครพื้นบ้านในช่วงเช้าวันสุดสัปดาห์ จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงมาเป็น การนำบทประพันธ์ของนักเขียนชื่อดัง ตลอดจนบทละครที่เขียนขึ้นใหม่ มาสร้างเป็นละครเพื่อนำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ 20.25 น. ช่วงเย็นประมาณ 18.45 น. ภายหลังได้มีละครเยาวชนเพิ่มอีกในเวลา 18.15 น. และมีเวลาของละครซิตคอมในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.15 น. และเวลา 13.00 น. นอกจากนี้ ก่อนออกอากาศละครภาคเย็นและภาคค่ำ ยังมีข้อความแสดงคำเตือนเรื่องลิขสิทธิ์ เป็นสถานีฯ แรกด้วย
รายการกีฬาและถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีนโยบายสำคัญประการหนึ่ง ในอันที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาวงการกีฬาในประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปสู่ระดับสากล พร้อมทั้งให้การสนับสนุนแก่เยาวชนไทย ให้ความสนใจกับการเล่นกีฬา เพื่อส่งเสริมให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วย

โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2527 ทางสถานีฯ ริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาสำหรับเยาวชนขึ้น ตามโครงการ แชมป์กีฬา 7 สี จนกระทั่งเกิดนักกีฬารุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศจำนวนมาก เช่น ศิริมงคล สิงห์วังชา อดีตแชมป์สภามวยโลก ในรุ่นแบนตั้มเวทและซูเปอร์เฟเธอร์เวท, เรวดี ศรีท้าว (วัฒนสิน) นักกรีฑา เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์หลายสมัย, มนัสนันท์ แพงขะ - รัตนาภรณ์ อาลัยสุข นักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด เจ้าของเหรียญทองเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13, ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร - มธุรดา คุโณปการ - ดุลยฤทธิ์ พวงทอง นักกีฬาว่ายน้ำ เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์หลายสมัย และยังร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียน 7 คน เป็นรายการแรกของประเทศไทย และยังร่วมสนับสนุนส่งเสริมเยาวชนไทย ให้ก้าวสู่การแข่งขันกีฬาระดับอาชีพ ผ่านการแข่งขันเทนนิส "แชมป์กีฬา 7 สี กรุงศรีฯ สานฝัน ตามรอยภราดร" และ การแข่งขันกอล์ฟ "แชมป์กีฬา 7 สี กรุงศรีฯ สานฝัน ตามรอยวิรดา"

สถานีฯ ริเริ่มกระตุ้นให้ชาวไทย สนใจในกีฬาต่างๆ ด้วยการบุกเบิกถ่ายทอดสด และบันทึกการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ กล่าวคือ ฟุตบอลโลก, ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งเอเชีย, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งอาเซียน, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, ฟุตบอลยูฟ่าซูเปอร์คัพ, ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลเอฟเอคัพ, ฟุตบอลลีกคัพ, ฟุตบอลยุโรป, เทนนิสแกรนด์สแลม, เทนนิสมาสเตอร์ซีรีส์, เทนนิสเอทีพีทัวร์, เทนนิสดับเบิลยูทีเอทัวร์, กอล์ฟเมเจอร์, กอล์ฟยูเอสพีจีเอ, กอล์ฟแอลพีจีเอ, กอล์ฟไรเดอร์คัพ, มวยสากลชิงแชมป์โลก เป็นต้น

สถานีถ่ายทอดสัญญาณส่วนภูมิภาค

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มดำเนินการจัดตั้ง สถานีถ่ายทอดสัญญาณในส่วนภูมิภาค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 นับจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 37 สถานีฯดังต่อไปนี้

กรุงเทพมหานคร - วีเอชเอฟ ช่อง 7

ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ - วีเอชเอฟ ช่อง 7
จังหวัดเชียงราย - วีเอชเอฟ ช่อง 6
จังหวัดลำปาง - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดแม่ฮ่องสอน - วีเอชเอฟ ช่อง 8
อำเภอปาย - วีเอชเอฟ ช่อง 8
อำเภอแม่สะเรียง - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดแพร่ - วีเอชเอฟ ช่อง 2

ภาคกลาง
จังหวัดนครสวรรค์ - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดสุโขทัย - วีเอชเอฟ ช่อง 5

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดนครราชสีมา - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดบุรีรัมย์ - วีเอชเอฟ ช่อง 3
จังหวัดขอนแก่น - วีเอชเอฟ ช่อง 5
จังหวัดเลย - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดหนองคาย - วีเอชเอฟ ช่อง 4
จังหวัดอุบลราชธานี - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดสกลนคร - วีเอชเอฟ ช่อง 11
จังหวัดมุกดาหาร - วีเอชเอฟ ช่อง 2
จังหวัดมหาสารคาม - ยูเอชเอฟ ช่อง 53



ภาคตะวันออก
จังหวัดระยอง - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดตราด - วีเอชเอฟ ช่อง 5
จังหวัดสระแก้ว - ยูเอชเอฟ ช่อง 50
เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี - ยูเอชเอฟ ช่อง 50

ภาคตะวันตก
จังหวัดตาก - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดกาญจนบุรี - ยูเอชเอฟ ช่อง 48
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - วีเอชเอฟ ช่อง 8
อำเภอหัวหิน - ยูเอชเอฟ ช่อง 55

ภาคใต้
จังหวัดระนอง - วีเอชเอฟ ช่อง 7
จังหวัดภูเก็ต - วีเอชเอฟ ช่อง 7 (เว็บไซต์)
จังหวัดสงขลา - วีเอชเอฟ ช่อง 6
จังหวัดยะลา - วีเอชเอฟ ช่อง 7
จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดนครศรีธรรมราช - วีเอชเอฟ ช่อง 7 (เว็บไซต์)
จังหวัดพังงา - วีเอชเอฟ ช่อง 4
จังหวัดชุมพร - วีเอชเอฟ ช่อง 3
จังหวัดสตูล - ยูเอชเอฟ ช่อง 51
จังหวัดตรัง - ยูเอชเอฟ ช่อง 50

นักแสดงในสังกัด
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)

นักแสดงชาย



นักแสดงหญิง

กฤษณกัณท์ มณีผกาพันธ์
เขตต์ ฐานทัพ
คณิน บัดติยา
จิรพัฒน์ สุตตปัญญา
ชวนภ โพธิ์ประเสริฐ
เชื้อชาติ วงศ์สวัสดิ์
ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์
ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม
ณัฐวัฒน์ เปล่งศิริวัธน์
ดนัย สมุทรโคจร
ตะวัน จารุจินดา
ธันญ์ ธนากร
ธนพล นิ่มทัยสุข
ธันวา สุริยจักร
ธาราเขต เพ็ชร์สุกใส
ธาวิน เยาวพลกุล
ธีร์ วณิชนันทธาดา
ธีรภัทร์ แย้มศรี
นนทพัทธ์ ใจกันทา
นราธิษณ์ น้ำค้าง
นวพล ภูวดล
นวพล ลำพูน



ภาณุ สุวรรณโณ
วงศกร ปรมัตถากร
วัชรบูล ลี้สุวรรณ
วีรภาพ สุภาพไพบูลย์
ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
ศุกลวัฒน์ คณารศ
รพีภัทร เอกพันธ์กุล
รังสิต ศิรนานนท์
ชนะพล สัตยา
พาทิศ พิสิฐกุล
พิชยดนย์ พึ่งพันธ์
พีรวิชญ์ บุนนาค
พูลภัทร อัตถปัญญาพล
มิกค์ ทองระย้า
รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง
สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์
สุรวุฑ ไหมกัน
ศรัณย์ ศิริลักษณ์
อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา
อานัส ฬาพานิช
อิทธิกร สาธุธรรม
อรรคพันธ์ นะมาตร์



กรรณาภรณ์ พวงทอง
กวินตรา โพธิจักร
กัญญกร พินิจ
กัญญา รัตนเพชร์
กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า
เขมนิจ จามิกรณ์
จีรนันท์ มะโนแจ่ม
ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล
ฐิตินันท์ สุวรรณถาวร
ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์
ทิสานาฏ ศรศึก
ณัฐวรา หงษ์สุวรรณ
ณิชานันท์ ฝั้นแก้ว
ดาวิกา โฮร์เน่
ธราภา กงทอง
ธันย์ชนก ฤทธินาคา
ธัญญชล สถิรบุตร
ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์
ธัญสินี พรมสุทธิ์
นัทธินันท์ กุมชพร
บัณฑิตา ฐานวิเศษ
ปริยฉัตร ลิ้มธรรมมหิศร
ปรียานุช อาสนจินดา
ปัณฑิตา ภูวิจารย์ เคาวเวลล์
ป่านทอง บุญทอง
ปาลิตา โกศลศักดิ์
ปิยธิดา วรมุสิก
ปุณยาพร พูลพิพัฒน์



ไปรยา สวนดอกไม้
ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
พรรัมภา สุขได้พึ่ง
พลอยปภัส ธนันต์ชัยกานต์
พัชราภา ไชยเชื้อ
พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์
พีชญา วัฒนามนตรี
แพร เอมเมอรี่
ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม
ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์
มรกต กิตติสาระ
มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์
วรนุช ภิรมย์ภักดี (วงษ์สวรรค์)
สคราญกมล อุทัยศรี
สิริลภัส กองตระการ
สุวนันท์ ปุณณกันต์ (คงยิ่ง)
ศรศิลป์ มณีวรรณ์
ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา (ลีเดีย) รอพิจารณา กรกฎาคม
ศุจินทรา โสตถิวันวงศ์
อคัมย์สิริ สุวรรณศุข
อติมา ธนเสนีวัฒน์
อธิชนัน ศรีเสวก
อมีนา พินิจ
อัจฉรียา อินสว่าง
อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์
อาริษา วิลล์
อาเมเรีย จาคอป
อุษณีย์ วัฒฐานะ
อุษามณี ไวทยานนท์
อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล

ในอดีต

สาวิกา ไชยเดช (อิสระ)
ปาริชาต แก้วกำพล (อิสระ)
ธนา สุทธิกมล (อิสระ)
มนฤดี ยมาภัย
รักษ์สุดา สินวัฒนา
อภัสนันท์ สุทธิกุล
ศิตา เมธาวี
อรชุมา ธรรมกามี
ดนุพร ปุณณกันต์ (ลงสมัคร ส.ส. และได้รับการเลือกตั้ง)
ยุรนันท์ ภมรมนตรี
เอกรัตน์ สารสุข



จันทนี สิงห์สุวรรณ
สมฤทัย กล่อมน้อย
สมนภา เกษมสุวรรณ
จามิน เหมพิพัฒน์
ทัศนีย์ ชลหวรรณ
จิตต์โสภิณ ลิมปิสวัสดิ์
ธนาภรณ์ รัตนเสน
วิชชุดา สวนสุวรรณ (เสียชีวิต)
ชฎาพร รัตนากร
รัชนีกร พันธ์มณี
อุษณีย์ รักกสิกร
สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์
กชกร นิมากรณ์
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
ปรียานุช ปานประดับ

พิธีกรสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้


7 สีคอนเสิร์ต
บิ๊กซินีม่า
มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส
ไทยซูเปอร์โมเดล
มวยไทย 7 สี

ช่อง9




สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (อังกฤษ: Modernine TV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในนาม สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ที่ตั้งปัจจุบัน อยู่ภายในที่ทำการ บมจ.อสมท เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4

บทความนี้เกี่ยวกับทีทีวีในอดีต สำหรับทีทีวีในปัจจุบัน ดูที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (อังกฤษ: Thai Television Channel 4 ชื่อย่อ: ไทย ที.วี.) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้การบริหารของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อังกฤษ: Thai Television Co.,Ltd. ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเรียกขานตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์ว่า HS1-TV มีที่ทำการตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นที่มาของชื่อสถานีฯ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 มีที่มาเริ่มแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 เมื่อนายสรรพสิริ วิรยศิริ ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เขียนบทความลงในหนังสือเล่มหนึ่ง เผยแพร่เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใหม่ในขณะนั้น โดยให้ชื่อบทความว่า "วิทยุภาพ" ต่อมา ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2492-2493 หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็แสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล ถึงการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ว่า "ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมี เทเลวิชัน" จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงสั่งการให้กรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยมีมติให้จัดตั้ง สถานีวิทยุโทรภาพ และตั้งงบประมาณขึ้น ในปีถัดมา (พ.ศ. 2494) แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระยะแรกเริ่ม จึงต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวไปโดยปริยาย เนื่องจากเสียงส่วนมาก ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ไปโดยเปล่าประโยชน์

อนึ่ง นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการ บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งโทรภาพ 1 เครื่อง และเครื่องรับ 4 เครื่อง น้ำหนักรวมกว่า 2 ตัน ทำการทดลองออกอากาศ ให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรก ที่ทำเนียบรัฐบาล และเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ก็เปิดฉายให้ประชาชนรับชม ที่ศาลาเฉลิมกรุง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

ต่อมา ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ปีเดียวกันนี้ (พ.ศ. 2495) มีรัฐมนตรี และข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่ง จำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย หลวงสารานุประพันธ์, หม่อมหลวงขาบ กุญชร, นายประสงค์ หงสนันทน์, พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์, นายเล็ก สงวนชาติสรไกร, นายมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ นายเลื่อน พงษ์โสภณ เล็งเห็นถึงคุณค่าของการพัฒนาประเทศ ด้วยการใช้สื่อโทรภาพ เพื่อเผยแพร่กระจาย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และเสริมสร้างคุณภาพ ของประชาชนในประเทศ จึงระดมทุนจากกรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ร่วมกันนำมาเป็นทุนจัดตั้ง "บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด" ขึ้นเพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด มีคณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ นายจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ เป็นหัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น ร่วมกันเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่งและเสาอากาศ, นายจ้าน ตัณฑโกศัย เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิรยศิริ เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และหัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นหัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์

บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ดำเนินการจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ขึ้นก่อนจะมีสถานีโทรทัศน์ เพื่อระดมทุนมาบริหารงาน และฝึกบุคลากร รวมทั้งเตรียมงานด้านอื่นไปพร้อมกันด้วย โดยส่งกระจายเสียงจากอาคารที่ทำการสถานีฯ บริเวณแยกคอกวัว และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดยมี พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี ขณะเดียวกัน ก็เริ่มทดลองออกอากาศ จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. เมื่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่ง เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี โดยมี นายจำนง รังสิกุล เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการสถานีฯ คนแรก โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ในช่วงแรก มีการแพร่ภาพทุกวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศ มากขึ้นตามลำดับ

เพลงเปิดการออกอากาศ ของทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 และสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด คือเพลง "ต้นบรเทศ" (ซึ่งปัจจุบันเป็นเพลง ต้นวรเชษฐ์[1]) ในวันออกอากาศวันแรก มีนางสาวอารีย์ นักดนตรี ผู้ประกาศ รำบรเทศออกอากาศสด และนางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ เป็นผู้ประกาศแจ้งรายการ โดยผู้ประกาศในยุคแรก จะเป็นสุภาพสตรี ได้แก่ นางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ (ปัจจุบันคือ นางเย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา), นางสาวอารีย์ นักดนตรี (ปัจจุบันคือ นางอารีย์ จันทร์เกษม), นางสาวดาเรศร์ ศาตะจันทร์, นางสาวนวลละออ ทองเนื้อดี (ปัจจุบันคือ นางนวลละออ เศวตโสภณ), นางสาวชะนะ สาตราภัย และนางสาวประไพพัฒน์ นิรัตพันธ์ ส่วนผู้ประกาศข่าว จะเป็นสุภาพบุรุษ ได้แก่ นายสรรพสิริ วิรยศิริ, นายอาคม มกรานนท์, นายสมชาย มาลาเจริญ และนายบรรจบ จันทิมางกูร

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยสมัยนั้น ใช้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ในการถ่ายทอดการปราศรัยของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี, เผยแพร่ผลงานของรัฐบาล, ถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา ตลอดจนถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. 2500 แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงส่งผลให้กองทัพบก โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น สั่งการให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ขาว-ดำ (หรือปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5)) ในระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

ราวประมาณต้นเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 บจก.ไทยโทรทัศน์ ยุติการออกอากาศ ในระบบขาวดำ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยย้ายห้องส่งโทรทัศน์ ไปยังอาคารสำนักงานใหญ่ย่านถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และในปีเดียวกัน ก็เปลี่ยนช่องสัญญาณ และระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ ในระบบวีเอชเอฟ ทางช่อง 4 เป็นภาพสี ในระบบวีเอชเอฟ 625 เส้น ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (อังกฤษ: Thai Television Channel 9) และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในเมื่อราวปี พ.ศ. 2517

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้การดำเนินงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 โดยให้จัดตั้งหน่วยงานชื่อ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: The Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือ ต่อสาธารณชน โดยรัฐบาลไทย มอบทุนประเดิมไว้ เป็นจำนวน 10 ล้านบาท และให้รับโอนกิจการสื่อสารมวลชน ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ซึ่งประกอบด้วย สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 มาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. ทำให้สถานีโทรทัศน์เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยอัตโนมัติ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท. บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับ บริษัท แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด ส่งผลให้ผู้ประกาศข่าวคู่ ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 อ.ส.ม.ท.ร่วมลงนามในสัญญากับ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เพื่อขยายเครือข่ายกิจการโทรทัศน์ ไปสู่ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานภาครัฐฯ จัดสรรคลื่นความถี่ส่ง ด้วยระบบวีเอชเอฟ พร้อมอุปกรณ์การออกอากาศ เพื่อจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท.แต่ละแห่ง (ระยะหลังจึงขยายไปสู่ระบบยูเอชเอฟ) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531-เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงทำให้ สถานีโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. ทั้งสองแห่ง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ

ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืด ฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัย ก็สามารถขจัดอิทธิพลมืด เหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ขึ้นมาเป็นอย่างดี แต่แล้ว นายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน เสียชีวิตระหว่างนั่งรถยนต์ เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจ ระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร อดีตผู้ได้รับสัมปทานจัดรายการ ทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.ส่วนภูมิภาค จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหาร เสียชีวิตบนรถยนต์ ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

ด้วยตามดำริของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงการบริหารงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการนำเสนอ รายงานข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัฒน์ และเพื่อขจัดความเป็น "แดนสนธยา" ภายในองค์กรอีกด้วย

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 จึงมีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ และปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอ เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทกับ เครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น โดยเริ่มออกอากาศในรูปแบบใหม่ดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 18.30 น.เป็นต้นไป แต่ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อสถานีฯ ไปแล้ว แต่คนไทยส่วนมาก ก็ยังนิยมเรียกชื่อสถานีฯ ว่า ช่อง 9 ตามเดิม

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ การออกอากาศโทรทัศน์ ตลอดจนการควบคุมการออกอากาศ โดยแพร่ภาพออกอากาศ จากกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่าย ในส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79.5 ของประเทศ มีประชากรในขอบเขตการออกอากาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมทั้งถ่ายทอดสดต่างๆ ซึ่งได้จัดรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ ในด้านต่างๆ มานำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ที่มีผู้ชมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชม ได้รับข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นประโยชน์ อย่างเท่าเทียมกัน และมุ่งหวังว่า จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชน

มีเหตุการณ์สำคัญที่สถานีฯ เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คือเมื่อเวลา 22.15 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสหรัฐอเมริกา ถ่ายทอดสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี แต่อ่านแถลงการณ์ได้เพียงสามฉบับ ก็มีกำลังพลทหารพร้อมด้วยอาวุธกลุ่มหนึ่ง บุกยึดเข้าไปยังสถานีฯ พร้อมออกคำสั่งให้หยุดการแพร่ภาพทันที จึงทำให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องปฏิบัติตามในที่สุด

ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร
[แก้] ในปัจจุบัน

รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

ในอดีต

บัญชา ชุมชัยเวทย์ - (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
จำเริญ รัตนตั้งตระกูล - ข่าวเที่ยง (จันทร์-ศุกร์),คัดข่าวเด่น (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ข่าวต้นชั่วโมง เวลา 17.00 นาฬิกา) (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
กุณฑีรา ปัจฉิมสวัสดิ์ - ข่าวต้นชั่วโมง (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
กิตติ สิงหาปัด - ข่าวค่ำ (23 กรกฎาคม 2550 - 31 กรกฎาคม 2551) (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
อรชุน รินทรวิฑูรย์ - (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
ถวัลย์ ไชยรัตน์ - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
วันชัย สอนศิริ - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
นีรชา หลิมสมบูรณ์ - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน (ยุติการทำหน้าที่และการออกอากาศแล้ว)
ธันย์ชนก จงยศยิ่ง - 9 ร่วมใจคนไทยไม่ทั้งกัน (ยุติทำการออกอากาศแล้ว) (ปัจจุบันอยู่ช่อง MCOT 1 อสมท )
ฤทธิกร การะเวก - ข่าวกีฬาภาคค่ำ เสาร์-อาทิตย์ (ปัจจุบันอยู่ สทท. และรายการ 9 ทันเกมส์)
ณัฐ เสตะจันทร์ - ข่าวกีฬาภาคเที่ยง-ภาคค่ำ (ปัจจุบันอยู่ สทท.)
สรยุทธ สุทัศนะจินดา - คุยคุ้ยข่าวและถึงลูกถึงคน (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)

พิธีกรสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

เอกชัย วริทธิ์ชราพร - ไนน์เอ็นเตอร์เทน
พัทรวี บุญประเสริฐ - ไนน์เอ็นเตอร์เทน
นันทกา วรวณิชชานันท์ - ไนน์เอ็นเตอร์เทน
สุนทรีย์ อรรถสุข - บ่ายนี้มีคำตอบ

ช่อง11 NBT




สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: สทท.; อังกฤษ: The National Broadcasting Services of Thailand; ชื่อย่อ: เอ็นบีที., NBT.) หรือชื่อเดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ (ชื่อย่อ: สทท.11, ช่อง 11; อังกฤษ: Television of Thailand Channel 11 ชื่อย่อ: TVT.11) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสภาพเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานี เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป หรือโลโก้ก็คือ Logo NBT.png และเมื่อวันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานี (NBT 2009Logo.png) และในวันดังกล่าวคือวันครบรอบการออกอากาศของ NBT 1 ปี
ประวัติ

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำ โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึง การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่ สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ

ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เริ่มต้นการทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก แต่ระยะแรกนั้น สทท.11 ได้ใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ (VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 11 มาจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ณ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มาออกอากาศเป็นการชั่วคราว ณ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แต่เนื่องจากความถี่ต่ำ จึงไม่สามารถดำเนินการส่งสัญญาณแพร่ภาพออกอากาศต่อได้ ทว่าต่อมา สทท.11 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น และมูลนิธิไจก้า ตามโครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่า โดยมีวงเงินประมาณ 330,000,000 บาท เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องส่งใหม่ โดยออกอากาศระบบวีเอชเอฟ (VHF) ความถี่สูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 (BAND3,VHF CH-11) และสร้างอาคารที่ทำการสถานีฯ ในที่ดินของกรมประชาสัมพันธ์ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ดำเนินการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการถ่ายทอดรายการส่วนใหญ่ และบางช่วงเวลา จะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในส่วนภูมิภาคดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงระยะเวลาแรกๆ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางรัฐบาลซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น ละครโทรทัศน์ หรือรายการเกมโชว์ และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจมีโฆษณาได้ จึงทำให้ประเภทของรายการที่ออกอากาศทางสทท. 11 นั้น มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ชมนั้นมีไม่จำนวนไม่มากนัก

อย่างไรก็ดี ในปีพ.ศ. 2539 สทท.11 ได้เสนอให้หน่วยงานภาคต่างๆ สามารถแพร่ภาพโฆษณาให้กับทางสถานีได้ และในบางครั้ง สทท.11 ก็ได้ผลิตโฆษณาออกอากาศภายในสถานีเอง แม้จะเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ จนกระทั่งในช่วงนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เริ่มมีชื่อเสียงทางด้านการถ่ายทอดสดรายการกีฬา ซึ่งแต่เดิม สทท. 11 เป็นที่รู้จักกันดีจากการเริ่มนำเอากีฬามวยปล้ำอาชีพมาออกอากาศทางสถานี แต่ทว่า นับตั้งแต่ที่สทท.11 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี 2002 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีและไอทีวี ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ทศภาค จำกัด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ฮือฮามากในขณะนั้น ที่การถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล ตามที่เป็นปกติในวงการโทรทัศน์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถ่ายทอดสดรายการกีฬาต่างๆ ร่วมกันทางทีวีพูล โดยมีโฆษณาคั่น แต่เมื่อสทท. 11 ได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี และไอทีวี โดยไม่มีโฆษณาคั่น แต่นั้น สทท. 11 ก็ได้ถ่ายทอดสดรายการกีฬาอีกหลายรายการจนเป็นที่ติดตามของผู้ชมกีฬาในประเทศเป็นอย่างมาก
รายละเอียดของตราสัญลักษณ์เอ็นบีที (2551)

ในปีพ.ศ. 2551 เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เข้ามาบริหารงาน นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ได้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง สทท.11 เดิม เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ดังนั้น ในวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. สทท.11 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (National Broadcasting Services of Thailand - NBT) ซึ่งเป็นการใช้ชื่อที่จดทะเบียนสมาชิกกับสหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดงและได้ออกอากาศรายการในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี และเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับการเสนอข่าวสารของเอ็นบีที จะมีความแตกต่างจาก สทท.11 คือ เอ็นบีที จะทำการเสนอข่าวในนามของทีมข่าวของสถานีเอง ซึ่งแยกออกจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (ปัจจุบัน คือ สำนักข่าวแห่งชาติ) แต่ในการเสนอข่าวในยุค สทท.11 นั้น จะดำเนินการเสนอข่าวขึ้นตรงกับสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่

ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ได้นำอดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีหลายคน ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น ตวงพร อัศววิไล, จอม เพชรประดับ, จิรายุ ห่วงทรัพย์ , ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ เป็นต้น ซึ่งทางเอ็นบีทีได้นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นสถานีข่าว ผ่านทางการให้เวลานำเสนอข่าวมากกว่า 13 ชั่วโมง และปรับรูปลักษณ์ของสถานีเพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม ซึ่งในช่วงแรก เอ็นบีทีถูกจับตาอย่างยิ่งจากหลายฝ่าย จากการที่ประกาศตัวเป็นคู่แข่งกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย หรือไทยพีบีเอส ในลักษณะของ "สงครามสื่อโทรทัศน์ภาครัฐ" เนื่องจากเอ็นบีทีพยายามนำเสนอความเป็นทีวีสาธารณะของภาครัฐบาล ขึ้นรับมือกับไทยพีบีเอส ที่ประกาศตัวเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยไปก่อนหน้า และนอกจากนี้ เอ็นบีทียังถูกจับตามองอย่างยิ่ง ในแง่มุมของการเสนอข่าว ซึ่งมีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอ็นบีทีนำเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นพิเศษ
ช่อง11 NBT

เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล จากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีนโยบายปฏิรูปสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT โดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งกำหนดแนวคิดตราสัญลักษณ์ให้สื่อถึงความเป็นโทรทัศน์แห่งชาติ มีความทันสมัย ผสมผสานกับความเป็นไทย และตราสัญลักษณ์ใหม่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี การใช้ชื่อเอ็นบีที โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดตราสัญลักษณ์ใหม่ และเปิดตัวสถานีในฐานะสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ และมีการเลิกสัญญาบริษัทผลิตข่าวซึ่งเดิมเป็นของ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด
โครงสร้างการบริหาร
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย บริหารงานแบบองค์กรราชการ จัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วน 2 ฝ่าย และ 1 กลุ่ม คือ

ส่วนจัดและควบคุมรายการ มีหน้าที่ จัดสรร และควบคุมเนื้อหารายการ รวมถึงการออกอากาศรายการต่างๆ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ส่วนผลิตรายการ มีหน้าที่ ผลิตรายการเพื่อป้อนให้กับ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เพื่อการออกอากาศต่อไป
ส่วนเทคโนโลยี มีหน้าที่ กำกับดูแลในด้านเทคโนโลยีการออกอากาศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นต้น
ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ บริหารงานทั่วๆ ไป เช่น ฝ่ายบัญชีการเงิน ฝ่ายบุคคล เป็นต้น
ฝ่ายแผนงานและประสานงาน มีหน้าที่ วางแผนงาน และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
กลุ่มงานวิชาการ มีหน้าที่ ศึกษา ค้นคว้า และ ประสานงาน ด้านวิชาการสื่อสารมวลชน โดยได้จัดทำโครงการ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตงานวิจัย และบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์

ที่ทำการ ช่อง11 NBT

ปัจจุบัน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีที่ทำการ 2 แห่ง คือ

อาคารที่ทำการ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่ 90-91 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
อาคารที่ทำการ ถนนวิภาวดีรังสิต เลขที่ 236 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในบริเวณพื้นที่เดียวกับ อาคารที่ทำการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.)

โดยทั้ง 2 แห่ง ทางสถานี ได้ทำการส่งโทรทัศน์สีในระบบ วีเอชเอฟ (VHF) ย่านความถี่สูง ทางช่องที่ 11 (VHF Band 3 Channel-11)
เครือข่ายในส่วนภูมิภาค ช่อง11 NBT

ดูบทความหลักที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 12 แห่ง ตั้งอยู่ในภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคใต้ 6 แห่ง โดยในแต่ละสถานี จะมีการเชื่อมโยงรับส่งสัญญาณกับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนกลาง ด้วยระบบดาวเทียม โดยที่ทางสถานีฯ ได้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5

ช่อง11 NBT

รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

เพลงเงินล้าน (พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน) รายการประกวดร้องเพลงโดยโรงเรียนวาทินี ออกอากาศทุกบ่ายวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
โลกใบจิ๋ว (พ.ศ. 2533-พ.ศ. 2550) เป็นรายการสำหรับเด็ก ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 น.
กรองสถานการณ์ (พ.ศ. 2539) รายการสนทนาข่าวประจำวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาหลังข่าวภาคค่ำ
Morning Talk (พ.ศ. 2545) รายการสนทนาภาคภาษาอังกฤษ ออกอากาศต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
บทเรียนชีวิต (พ.ศ. 2549) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของสถานี และเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างและออกอากาศร่วมกับต่างประเทศ (ประเทศลาว)
เสียงสวรรค์เมื่อวันวาน (พ.ศ. 2550) เป็นรายการเพลงอมตะของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์
เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก (10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการสารคดีเชิงข่าวของสำนักข่าวทีนิวส์ โดยมีผลงานสำคัญคือการเปิดโปงขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ที่แฝงตัวในแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ความจริงวันนี้ (พ.ศ. 2551) รายการโทรทัศน์ประเภทความเห็นทางการเมืองของประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น.
คลายปม (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) รายการวิเคราะห์ เจาะลึก สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และเปิดโปงที่มาที่ไปของปัญหาบ้านเมืองนั้นๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ อ.วันชัย สอนศิริ (ดร.เสรี กับ อ.วันชัย จะสลับกันมาร่วมรายการกับ ดร.เจิมศักดิ์) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.00 น. - 22.00 น.
ร่วมมือร่วมใจ (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) รายการที่จะเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องทุกข์ในเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ดำเนินรายการโดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ปิยะฉัตร กรุณานนท์ และ สิริเสาวภา เอกเอี่ยมสิน ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ 14.00-15.00 น.
ลงเอยอย่างไร (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการสนทนาปัญหาต่างๆของบ้านเมือง เพื่อร่วมกันหาทางออกของปัญหาต่างๆ โดยมีแขกรับเชิญมาร่วมรายการซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ออกอากาศทุกคืนวันพุธ 21.00-22.00 น.
เกาที่คัน (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์ที่มาที่ไปของปัญหาแบบเจาะลึก ดำเนินรายการโดย ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ รณชาติ บุตรแสนคม ออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ 21.00-22.00 น.
สติวเดนท์ แชนแนล (ชื่อเดิม ติวเตอร์ แชนแนล) (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการให้ความรู้ด้านวิชาการแก่นักเรียนทั่วประเทศ ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผลิตรายการโดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 10.00-12.00 น.

การออกอากาศก่อนเปิดและหลังปิดสถานี
ภาพทดสอบ สทท. เดิม

ในช่วงแรกนั้นก่อนเปิดสถานีและหลังปิดสถานี จะมีการทดสอบคลื่นและเสียงเพลง จึงมีการตัดสัญญาณ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 ไปสู่เครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งใช้ระบบสีแบบภาพทดสอบ (testcard) โดยในช่วงแรก เปิดในเวลา 05:00 น. จนถึงประมาณ 01:00 น. ในปี พ.ศ. 2535

โดยในภาพทดสอบที่เห็นในวงกลมนั้น ด้านบนคือเวลาในประเทศไทย รองลงมาคือวันที่ออกอากาศ ตรงกลาง เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า TELEVISION OF THAILAND (แปลว่า โทรทัศน์แห่งประเทศไทย) ซึ่งเป็นชื่อทางการเดิมลักษณะภาษาอังกฤษ ของสถานีฯ ด้านล่างเขียนว่า CHANNEL 11 (แปลว่า ช่อง 11) หมายความว่า ที่ สทท.ส่วนกลาง ได้ส่งสัญญาณการออกอากาศใน ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11

อนึ่ง ก่อนประมาณยุคปี พ.ศ. 2540 สทท. ได้มีการปิดสถานีฯในช่วงกลางวัน เพื่อพักการส่งสัญญาณออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 13:00 น. จนถึง เวลา 15:00 น.

หลังจากนั้น ในช่วงปิดสถานี สทท. ตั้งแต่เวลาประมาณ 01.00 น. ถึงเวลา 03.00 น. จะออกอากาศภาพทดสอบพร้อมกับเพลงสุนทราภรณ์ และเพลงปลุกใจ

ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน สทท.11 เปลี่ยนเป็นเอ็นบีที ซึ่งออกอากาศ 24 ชั่วโมง จึงไม่มีการทดสอบสัญญาณ

คำขวัญ

สถานีข่าวสารเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
สถานีข่าวสารความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวของสถานี

รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

ในอดีต

จิรายุ ห่วงทรัพย์ - ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552) (ปัจจุบันเป็นทีมโฆษกพรรคเพื่อไทย)
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี - ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552)
ณยา คัตตพันธ์ - ข่าวต้นชั่วโมง (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
จอม เพชรประดับ - ถามจริง ตอบตรง (ปัจจุบันอยู่ วอยซ์ทีวี และ สปริงนิวส์)
กฤต เจนพาณิชการ - ข่าวเที่ยง (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
สุมนา แจวเจริญวงศ์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
ตวงพร อัศววิไล - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552, ปัจจุบันอยู่ วอยซ์ทีวี)
วสุ แสงสิงห์แก้ว - ฮอทนิวส์; จันทร์-ศุกร์) (พ.ศ. 2552)
วรวีร์ วูวนิช - ฮอทนิวส์, ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
ธีระ ธัญญอนันต์ผล - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 29 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่โมเดิร์นไนน์ทีวี)
ชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์ และ ทีเอ็นเอ็น)
ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ - ฮอทนิวส์ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552), ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553), ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น)
พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ - ข่าวค่ำ เสาร์-อาทิตย์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
จุฑารัตน์ เอี่ยมอำพันธ์ - ข่าวเที่ยง (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
พิชาญพงศ์ วงศ์ศรีแก้ว - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์ และ CSR TV )
ศศิพงศ์ ชาติพจน์ - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวค่ำ ช่วงสกายนิวส์, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
กาญจนา ปลื้มจิตต์ - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
รัชนีวรรณ ดวงแก้ว - ห้องข่าวภูมิภาค (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์และ CSR TV )
จตุพร สุวรรณรัตน์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
บุญเลิศ มโนสุจริตชน - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
อนุรักษ์ ทรัพย์เพ็ง - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
อภิวัฒน์ บุราคร - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
กัมพล บุรานฤทธิ์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
ศิริรัตน์ อานนท์ - ข่าวดึก (เสาร์-อาทิตย์ ) (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น)
ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ - ข่าวเช้า (จันทร์-ศุกร์) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
วิลาสินี แวน ฮาเรน - ข่าวค่ำ (จันทร์-ศุกร์) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)

ข้อวิพากษ์วิจารณ์และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานี
กระบอกเสียงรัฐบาล
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

ในปี พ.ศ. 2551 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ถูก วิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาล (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย) เช่น ให้มีการจัดรายการ ความจริงวันนี้ ซึ่งเป็นรายการกระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีผู้เสียหายจากข้อเท็จจริง จนต้องออกมาฟ้องหมิ่นประมาทอยู่บ่อยครั้ง เช่น ตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือ ปปช. รวมไปถึงนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนนำไปสู่การบุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551
การบุกยึดที่ทำการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ภาพขณะพันธมิตรฯ ทำลายประตูรั้ว เพื่อเข้าชุมนุมภายในเอ็นบีที เมื่อเวลา 8.30 น.
ภาพขณะถูกระงับการออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราวแห่งที่ 1

เมื่อเวลา 05.30 น. วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มชายฉกรรจ์ สวมหมวกไอ้โม่งปิดหน้าอย่างมิดชิด ซึ่งอ้างตัวเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย หน่วยรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวนประมาณ 80 คน ได้บุกเข้ายึดอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ริมถนนวิภาวดีรังสิต โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่งดออกอากาศรายการข่าวเช้า ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ได้ โดยตรวจพบอาวุธปืน ไม้กอล์ฟ มีดดาบสปาตา และใบกระท่อม ในตัวกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว

จากนั้น เวลาประมาณ 06.00 น. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ขึ้นประกาศบนเวทีใหญ่ของพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ได้บุกยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเป็นผลสำเร็จแล้ว ตนจะนำกลุ่มดาวกระจายตามไปสมทบที่สถานีฯ

ต่อมา เวลาประมาณ 08.30 น. แนวร่วมกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่นำโดยนายสมเกียรติ และนายอมร อมรรัตนานนท์ ได้พังประตูรั้วเข้ายึดที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตลอดจนห้องส่งกระจายเสียง และห้องส่งออกอากาศ ถือเป็นการเข้ายึดสถานีโทรทัศน์โดยประชาชนครั้งแรกในประเทศไทย[4]

กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยุติการส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 92.5 และ 97.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ ตลอดจนมีความพยายามของเจ้าหน้าที่เทคนิคของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ในการนำสัญญาณโทรทัศน์ของเอเอสทีวี มาออกอากาศในคลื่นความถี่โทรทัศน์ของเอ็นบีทีแทน เป็นผลให้เอ็นบีทีไม่สามารถออกอากาศได้ในช่วงแรก แต่หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคเปลี่ยนระบบการออกอากาศ โดยใช้สัญญาณแอนาล็อกแทนสัญญาณดิจิตอล ทำให้สามารถออกอากาศได้โดยไม่มีคลื่นแทรก ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจจึงตัดสายไฟฟ้าของเครื่องส่ง เพื่อให้เกิดความเสียหายแทน[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนความพยายามออกอากาศรายการข่าวอย่างต่อเนื่องทางเอ็นบีที ของพนักงานฝ่ายข่าว นำโดย น.ส.ตวงพร อัศววิไล, นายจิรายุ ห่วงทรัพย์, น.ส.สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์, นายอดิศักดิ์ ศรีสม, นายสัญญลักษณ์ เจริญเปี่ยม, น.ส.วรวีร์ วูวนิช, นายกฤต เจนพานิชการ เป็นต้น ได้ใช้วิธีการหลายรูปแบบ ดังนี้

ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่ แล้วให้สำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนกลาง ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ รับสัญญาณผ่านดาวเทียม ส่งไปยังเสารับสัญญาณโทรทัศน์บนอาคารใบหยก 2 เพื่อส่งออกอากาศทั่วประเทศอีกชั้นหนึ่ง โดยออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราว ภายในบริเวณสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาพบ จึงถูกระงับการออกอากาศไปอีก
ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค (ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดเชียงใหม่) [ต้องการอ้างอิง] มาที่ส่วนกลาง แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่เช่นเดิม โดยจัดห้องภายในศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) และต่อมาที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นห้องส่งชั่วคราว

จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 18.30 น. วันเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศถอนกำลังออกจากสถานีฯ เนื่องจากความพยายามเชื่อมต่อสัญญาณเอเอสทีวีไม่ประสบผล แล้วไปสมทบกับกลุ่มใหญ่ ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจสอบบริเวณสถานี พบว่ามีการบุกรุกเข้าไปห้องต่างๆ ภายในอาคาร สถานที่ถูกทำลายไปเป็นบางส่วน อีกทั้งมีทรัพย์สินเสียหายและสูญหายไปจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะมีการบุกรุกเข้าไปรื้อค้นสิ่งของ ภายในห้องประทับรับรอง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่มีหมายกำหนดการเสด็จทรงบันทึกเทปรายการทูบีนัมเบอร์วันวาไรตี้ ที่เอ็นบีทีในวันดังกล่าวด้วย หลังจากการตรวจสอบในเบื้องต้น จึงอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ กลับเข้าปฏิบัติงานภายในอาคารได้[ต้องการอ้างอิง]

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ และผู้ประกาศข่าวส่วนหนึ่ง ยังคงรายงานข่าวที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในช่วงคืนวันที่ 26 ต่อเช้าวันที่ 27 สิงหาคม จนกระทั่งสามารถกลับมาออกอากาศรายการข่าวภายในสถานีได้ตามปกติ ในช่วงข่าวเที่ยง วันที่ 27 สิงหาคม

สาระความรู้ทีวี

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

1 ในประเทศไทย 1.1 การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย 1.2 คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย 2 ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น 3 คลื่นความถี่ส่ง 3.1 ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน 3.2 ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม 3.3 ประเภทอื่น 4 ประเภทของโทรทัศน์ 5 การจัดเวลาออกอากาศ 6 สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา 7 ดูเพิ่ม 8 อ้างอิง 9 หนังสืออ่านเพิ่ม 10 แหล่งข้อมูลอื่น ในประเทศไทย ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำจากวังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ / เอ็นบีที) เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และในอนาคตตั้งเป้าว่าจะมีแผนการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพิ่มขึ้น อีก 3 ช่องดังต่อไปนี้ สถานีโทรทัศน์ไทยสยามทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2555 (ภายไต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์) สถานีโทรทัศน์เจเคเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2556 (สถานีโทรทัศน์เสรี) สถานีโทรทัศน์อีทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2557 (สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา) การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - VHF Band-1 ช่อง 3 (ปัจจุบันออกอากาศในระบบ UHF Band-4 ช่อง 32และระบบ Band-5 ช่อง 60) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก - VHF Band-1 ช่อง 5 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 55 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 - VHF Band-3 ช่อง 7 สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี - VHF Band-3 ช่อง 9 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 58 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย - VHF Band-3 ช่อง 11 (ปัจจุบันยังมีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายส่วนภูมิภาคออกอากาศเองได้ด้วย) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส - UHF Band-4 ช่อง 29 (รับช่วงในการส่งสัญญาณต่อจากไอทีวีและทีไอทีวี) คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12) UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60 ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ) UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง ทั้งนี้ทั้งนั้น บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศ โดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน [แก้] คลื่นความถี่ส่ง แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้ ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน ระบบวีเอชเอฟ ระบบยูเอชเอฟ ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม ระบบอีเอชเอฟ สำหรับผ่านดาวเทียม ประเภทอื่น เคเบิลทีวี ใช้กับสายไฟเบอร์ออฟติกและดาวเทียม ประเภทของโทรทัศน์ ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอ โทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัด ให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่ง อาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้โทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของโทรทัศน์ ดังนั้นโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับระดับ HDTV ขึ้นไปควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุดดังในตาราง ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ ขนาดของโทรทัศน์ Low Definition Television 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p) 6 นิ้ว Standard Definition Television 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p) 8 นิ้ว High Definition Television 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p) 25 นิ้ว Extreme High Definition Television 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440p) 45 นิ้ว Quad Full High Definition Television 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p) 50 นิ้ว Ultra High Definition Television 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p) 100 นิ้ว ปัจจุบันมีการแพร่ภาพอยู่ 2 ประเภท คือ ความละเอียดมาตราฐาน (SDTV) กับ ความละเอียดสูง (HDTV) เนื่องจากโทรทัศน์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็น 16:9 เกือบทั้งหมดฉะนั้นจึงออกอากาศภาพแบบ 16:9 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่ยังคงเป็นโทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐานจนถึง พ.ศ. 2550 โทรทัศน์ความละเอียดสูงทั่วโลกเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และใช้ขนาดภาพ 16:9 เท่านั้น UHDTV เป็นโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่ปัจจุบันมีการออกอากาศที่ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่เดียวในโลกของสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค โดยเรียกว่า Super-Hi Vision การจัดเวลาออกอากาศ ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของ รายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขต โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่รายการได้ฉายพร้อมกัน ดังนี้ เช่น 9/8 Central หมายถึง 21:00 (9pm) นาฬิกาทางขวาสุดของประเทศและจะตรงกับ 20:00 (8pm) นาฬิกาในเขตเวลาถัดไป 1 เขตทางซ้ายของประเทศ เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 9/8 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 17:00 (5pm) นาฬิกา (ตัวอย่างเขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาที่ยกตัวอย่างนี้นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่โดยไม่รวมรัฐฮาวายและอะแลสกาที่เวลาจะห่างออกไปอีก 4-6 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้ครึ่งประเทศทางด้านซ้าย ยังอยู่ในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นครึ่งประเทศทางด้านซ้ายโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทาง ด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการโดยสถานีท้องถิ่นต่างๆ ของตนเองหรือที่เรียกกันว่า สถานีท้องถิ่น (syndication) โดยสถานีท้องถิ่นเหล่านี้จะจัดตารางฉายกันเองตามความเหมาะสม สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา Network คือ แม่ข่ายสถานีหลักซึ่งทำหน้าที่สร้างรายการและบริหารในด้านภาพรวมและจัดได้ ว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ 6 ช่องหลักของประเทศประกอบไปด้วย CBS, FOX, ABC, NBC, The CW และ PBS Affiliate คือ สถานีย่อยที่ยึดกับแม่ข่ายสถานีหลัก ระบบฟรีทีวีของอเมริกามีความเป็นอิสระสูงมาก สถานีแต่ละแห่งในแต่ละเมืองจะบริหาร ดำเนินงานกันเอง เป็นเจ้าของเอง โดยไม่ขึ้นกับใคร จัดผังรายการเอง หรือสร้างรายการเอง เพื่อให้เหมาะกับท้องถิ่นนั้นๆ แต่เมื่อสถานีท้องถิ่นนั้นๆเป็น Affiliate กับ Network ก็จะสามารถเอารายการของ Network มาฉายได้ ตัวอย่างเช่น สถานี KTVU เป็นช่อง 2 ที่ซานฟรานซิสโก ในขณะที่ KNYW เป็นช่อง 5 ในนิวยอร์ค หรือ KDFW ช่อง 4 ที่ดัลลัส ทั้งหมดเป็นอิสระต่อกัน เจ้าของเป็นคนละคน แต่ทั้งหมดถือว่าเป็น Affiliate ของ FOX และฉายรายการของ FOX แต่ไม่ได้หมายความว่า FOX เป็นเจ้าของสถานีท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อถึง Primetime ก็จะออกอากาศตามเวลาท้องถิ่น เช่น Glee ซึ่งฉาย 8/7c ก็ต้องเปิด KNYW ช่อง 5 ที่นิวยอร์ค 20:00 หรือ KDFW ช่อง 4 ที่ดัลลัส 19:00 ตามเวลาท้องถิ่น (ซึ่งสองโซนนี้ฉายพร้อมกัน) ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะได้ดูช้ากว่า 2-3 ชั่วโมง ตามเวลาท้องถิ่น ดังนั้น Primetime จึงจัดตามเวลาท้องถิ่น ยกเว้นพวกรายการถ่ายทอดสดจะยึดเวลา Primetime ตามฝั่งตะวันออกเสมอ