โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

17 ก.ย. 2554

ช่อง11 NBT




สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: สทท.; อังกฤษ: The National Broadcasting Services of Thailand; ชื่อย่อ: เอ็นบีที., NBT.) หรือชื่อเดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ (ชื่อย่อ: สทท.11, ช่อง 11; อังกฤษ: Television of Thailand Channel 11 ชื่อย่อ: TVT.11) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสภาพเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานี เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป หรือโลโก้ก็คือ Logo NBT.png และเมื่อวันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานี (NBT 2009Logo.png) และในวันดังกล่าวคือวันครบรอบการออกอากาศของ NBT 1 ปี
ประวัติ

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำ โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึง การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่ สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ

ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เริ่มต้นการทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก แต่ระยะแรกนั้น สทท.11 ได้ใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ (VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 11 มาจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ณ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มาออกอากาศเป็นการชั่วคราว ณ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แต่เนื่องจากความถี่ต่ำ จึงไม่สามารถดำเนินการส่งสัญญาณแพร่ภาพออกอากาศต่อได้ ทว่าต่อมา สทท.11 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น และมูลนิธิไจก้า ตามโครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่า โดยมีวงเงินประมาณ 330,000,000 บาท เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องส่งใหม่ โดยออกอากาศระบบวีเอชเอฟ (VHF) ความถี่สูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 (BAND3,VHF CH-11) และสร้างอาคารที่ทำการสถานีฯ ในที่ดินของกรมประชาสัมพันธ์ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ดำเนินการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการถ่ายทอดรายการส่วนใหญ่ และบางช่วงเวลา จะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในส่วนภูมิภาคดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงระยะเวลาแรกๆ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางรัฐบาลซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น ละครโทรทัศน์ หรือรายการเกมโชว์ และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจมีโฆษณาได้ จึงทำให้ประเภทของรายการที่ออกอากาศทางสทท. 11 นั้น มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ชมนั้นมีไม่จำนวนไม่มากนัก

อย่างไรก็ดี ในปีพ.ศ. 2539 สทท.11 ได้เสนอให้หน่วยงานภาคต่างๆ สามารถแพร่ภาพโฆษณาให้กับทางสถานีได้ และในบางครั้ง สทท.11 ก็ได้ผลิตโฆษณาออกอากาศภายในสถานีเอง แม้จะเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ จนกระทั่งในช่วงนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เริ่มมีชื่อเสียงทางด้านการถ่ายทอดสดรายการกีฬา ซึ่งแต่เดิม สทท. 11 เป็นที่รู้จักกันดีจากการเริ่มนำเอากีฬามวยปล้ำอาชีพมาออกอากาศทางสถานี แต่ทว่า นับตั้งแต่ที่สทท.11 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี 2002 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีและไอทีวี ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ทศภาค จำกัด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ฮือฮามากในขณะนั้น ที่การถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล ตามที่เป็นปกติในวงการโทรทัศน์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถ่ายทอดสดรายการกีฬาต่างๆ ร่วมกันทางทีวีพูล โดยมีโฆษณาคั่น แต่เมื่อสทท. 11 ได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี และไอทีวี โดยไม่มีโฆษณาคั่น แต่นั้น สทท. 11 ก็ได้ถ่ายทอดสดรายการกีฬาอีกหลายรายการจนเป็นที่ติดตามของผู้ชมกีฬาในประเทศเป็นอย่างมาก
รายละเอียดของตราสัญลักษณ์เอ็นบีที (2551)

ในปีพ.ศ. 2551 เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เข้ามาบริหารงาน นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ได้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง สทท.11 เดิม เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ดังนั้น ในวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. สทท.11 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (National Broadcasting Services of Thailand - NBT) ซึ่งเป็นการใช้ชื่อที่จดทะเบียนสมาชิกกับสหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดงและได้ออกอากาศรายการในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี และเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับการเสนอข่าวสารของเอ็นบีที จะมีความแตกต่างจาก สทท.11 คือ เอ็นบีที จะทำการเสนอข่าวในนามของทีมข่าวของสถานีเอง ซึ่งแยกออกจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (ปัจจุบัน คือ สำนักข่าวแห่งชาติ) แต่ในการเสนอข่าวในยุค สทท.11 นั้น จะดำเนินการเสนอข่าวขึ้นตรงกับสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่

ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ได้นำอดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีหลายคน ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น ตวงพร อัศววิไล, จอม เพชรประดับ, จิรายุ ห่วงทรัพย์ , ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ เป็นต้น ซึ่งทางเอ็นบีทีได้นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นสถานีข่าว ผ่านทางการให้เวลานำเสนอข่าวมากกว่า 13 ชั่วโมง และปรับรูปลักษณ์ของสถานีเพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม ซึ่งในช่วงแรก เอ็นบีทีถูกจับตาอย่างยิ่งจากหลายฝ่าย จากการที่ประกาศตัวเป็นคู่แข่งกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย หรือไทยพีบีเอส ในลักษณะของ "สงครามสื่อโทรทัศน์ภาครัฐ" เนื่องจากเอ็นบีทีพยายามนำเสนอความเป็นทีวีสาธารณะของภาครัฐบาล ขึ้นรับมือกับไทยพีบีเอส ที่ประกาศตัวเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยไปก่อนหน้า และนอกจากนี้ เอ็นบีทียังถูกจับตามองอย่างยิ่ง ในแง่มุมของการเสนอข่าว ซึ่งมีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอ็นบีทีนำเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นพิเศษ
ช่อง11 NBT

เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล จากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีนโยบายปฏิรูปสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT โดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งกำหนดแนวคิดตราสัญลักษณ์ให้สื่อถึงความเป็นโทรทัศน์แห่งชาติ มีความทันสมัย ผสมผสานกับความเป็นไทย และตราสัญลักษณ์ใหม่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี การใช้ชื่อเอ็นบีที โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดตราสัญลักษณ์ใหม่ และเปิดตัวสถานีในฐานะสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ และมีการเลิกสัญญาบริษัทผลิตข่าวซึ่งเดิมเป็นของ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด
โครงสร้างการบริหาร
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย บริหารงานแบบองค์กรราชการ จัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วน 2 ฝ่าย และ 1 กลุ่ม คือ

ส่วนจัดและควบคุมรายการ มีหน้าที่ จัดสรร และควบคุมเนื้อหารายการ รวมถึงการออกอากาศรายการต่างๆ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ส่วนผลิตรายการ มีหน้าที่ ผลิตรายการเพื่อป้อนให้กับ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เพื่อการออกอากาศต่อไป
ส่วนเทคโนโลยี มีหน้าที่ กำกับดูแลในด้านเทคโนโลยีการออกอากาศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นต้น
ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ บริหารงานทั่วๆ ไป เช่น ฝ่ายบัญชีการเงิน ฝ่ายบุคคล เป็นต้น
ฝ่ายแผนงานและประสานงาน มีหน้าที่ วางแผนงาน และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
กลุ่มงานวิชาการ มีหน้าที่ ศึกษา ค้นคว้า และ ประสานงาน ด้านวิชาการสื่อสารมวลชน โดยได้จัดทำโครงการ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตงานวิจัย และบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์

ที่ทำการ ช่อง11 NBT

ปัจจุบัน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีที่ทำการ 2 แห่ง คือ

อาคารที่ทำการ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่ 90-91 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
อาคารที่ทำการ ถนนวิภาวดีรังสิต เลขที่ 236 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในบริเวณพื้นที่เดียวกับ อาคารที่ทำการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.)

โดยทั้ง 2 แห่ง ทางสถานี ได้ทำการส่งโทรทัศน์สีในระบบ วีเอชเอฟ (VHF) ย่านความถี่สูง ทางช่องที่ 11 (VHF Band 3 Channel-11)
เครือข่ายในส่วนภูมิภาค ช่อง11 NBT

ดูบทความหลักที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 12 แห่ง ตั้งอยู่ในภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคใต้ 6 แห่ง โดยในแต่ละสถานี จะมีการเชื่อมโยงรับส่งสัญญาณกับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนกลาง ด้วยระบบดาวเทียม โดยที่ทางสถานีฯ ได้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5

ช่อง11 NBT

รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

เพลงเงินล้าน (พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน) รายการประกวดร้องเพลงโดยโรงเรียนวาทินี ออกอากาศทุกบ่ายวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
โลกใบจิ๋ว (พ.ศ. 2533-พ.ศ. 2550) เป็นรายการสำหรับเด็ก ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 น.
กรองสถานการณ์ (พ.ศ. 2539) รายการสนทนาข่าวประจำวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาหลังข่าวภาคค่ำ
Morning Talk (พ.ศ. 2545) รายการสนทนาภาคภาษาอังกฤษ ออกอากาศต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
บทเรียนชีวิต (พ.ศ. 2549) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของสถานี และเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างและออกอากาศร่วมกับต่างประเทศ (ประเทศลาว)
เสียงสวรรค์เมื่อวันวาน (พ.ศ. 2550) เป็นรายการเพลงอมตะของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์
เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก (10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการสารคดีเชิงข่าวของสำนักข่าวทีนิวส์ โดยมีผลงานสำคัญคือการเปิดโปงขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ที่แฝงตัวในแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ความจริงวันนี้ (พ.ศ. 2551) รายการโทรทัศน์ประเภทความเห็นทางการเมืองของประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น.
คลายปม (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) รายการวิเคราะห์ เจาะลึก สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และเปิดโปงที่มาที่ไปของปัญหาบ้านเมืองนั้นๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ อ.วันชัย สอนศิริ (ดร.เสรี กับ อ.วันชัย จะสลับกันมาร่วมรายการกับ ดร.เจิมศักดิ์) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.00 น. - 22.00 น.
ร่วมมือร่วมใจ (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) รายการที่จะเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องทุกข์ในเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ดำเนินรายการโดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ปิยะฉัตร กรุณานนท์ และ สิริเสาวภา เอกเอี่ยมสิน ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ 14.00-15.00 น.
ลงเอยอย่างไร (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการสนทนาปัญหาต่างๆของบ้านเมือง เพื่อร่วมกันหาทางออกของปัญหาต่างๆ โดยมีแขกรับเชิญมาร่วมรายการซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ออกอากาศทุกคืนวันพุธ 21.00-22.00 น.
เกาที่คัน (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์ที่มาที่ไปของปัญหาแบบเจาะลึก ดำเนินรายการโดย ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ รณชาติ บุตรแสนคม ออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ 21.00-22.00 น.
สติวเดนท์ แชนแนล (ชื่อเดิม ติวเตอร์ แชนแนล) (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการให้ความรู้ด้านวิชาการแก่นักเรียนทั่วประเทศ ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผลิตรายการโดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 10.00-12.00 น.

การออกอากาศก่อนเปิดและหลังปิดสถานี
ภาพทดสอบ สทท. เดิม

ในช่วงแรกนั้นก่อนเปิดสถานีและหลังปิดสถานี จะมีการทดสอบคลื่นและเสียงเพลง จึงมีการตัดสัญญาณ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 ไปสู่เครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งใช้ระบบสีแบบภาพทดสอบ (testcard) โดยในช่วงแรก เปิดในเวลา 05:00 น. จนถึงประมาณ 01:00 น. ในปี พ.ศ. 2535

โดยในภาพทดสอบที่เห็นในวงกลมนั้น ด้านบนคือเวลาในประเทศไทย รองลงมาคือวันที่ออกอากาศ ตรงกลาง เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า TELEVISION OF THAILAND (แปลว่า โทรทัศน์แห่งประเทศไทย) ซึ่งเป็นชื่อทางการเดิมลักษณะภาษาอังกฤษ ของสถานีฯ ด้านล่างเขียนว่า CHANNEL 11 (แปลว่า ช่อง 11) หมายความว่า ที่ สทท.ส่วนกลาง ได้ส่งสัญญาณการออกอากาศใน ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11

อนึ่ง ก่อนประมาณยุคปี พ.ศ. 2540 สทท. ได้มีการปิดสถานีฯในช่วงกลางวัน เพื่อพักการส่งสัญญาณออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 13:00 น. จนถึง เวลา 15:00 น.

หลังจากนั้น ในช่วงปิดสถานี สทท. ตั้งแต่เวลาประมาณ 01.00 น. ถึงเวลา 03.00 น. จะออกอากาศภาพทดสอบพร้อมกับเพลงสุนทราภรณ์ และเพลงปลุกใจ

ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน สทท.11 เปลี่ยนเป็นเอ็นบีที ซึ่งออกอากาศ 24 ชั่วโมง จึงไม่มีการทดสอบสัญญาณ

คำขวัญ

สถานีข่าวสารเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
สถานีข่าวสารความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวของสถานี

รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

ในอดีต

จิรายุ ห่วงทรัพย์ - ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552) (ปัจจุบันเป็นทีมโฆษกพรรคเพื่อไทย)
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี - ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552)
ณยา คัตตพันธ์ - ข่าวต้นชั่วโมง (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
จอม เพชรประดับ - ถามจริง ตอบตรง (ปัจจุบันอยู่ วอยซ์ทีวี และ สปริงนิวส์)
กฤต เจนพาณิชการ - ข่าวเที่ยง (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
สุมนา แจวเจริญวงศ์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
ตวงพร อัศววิไล - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552, ปัจจุบันอยู่ วอยซ์ทีวี)
วสุ แสงสิงห์แก้ว - ฮอทนิวส์; จันทร์-ศุกร์) (พ.ศ. 2552)
วรวีร์ วูวนิช - ฮอทนิวส์, ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
ธีระ ธัญญอนันต์ผล - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 29 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่โมเดิร์นไนน์ทีวี)
ชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์ และ ทีเอ็นเอ็น)
ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ - ฮอทนิวส์ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552), ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553), ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น)
พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ - ข่าวค่ำ เสาร์-อาทิตย์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3)
จุฑารัตน์ เอี่ยมอำพันธ์ - ข่าวเที่ยง (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
พิชาญพงศ์ วงศ์ศรีแก้ว - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์ และ CSR TV )
ศศิพงศ์ ชาติพจน์ - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวค่ำ ช่วงสกายนิวส์, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
กาญจนา ปลื้มจิตต์ - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
รัชนีวรรณ ดวงแก้ว - ห้องข่าวภูมิภาค (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์และ CSR TV )
จตุพร สุวรรณรัตน์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
บุญเลิศ มโนสุจริตชน - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
อนุรักษ์ ทรัพย์เพ็ง - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
อภิวัฒน์ บุราคร - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์)
กัมพล บุรานฤทธิ์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
ศิริรัตน์ อานนท์ - ข่าวดึก (เสาร์-อาทิตย์ ) (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น)
ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ - ข่าวเช้า (จันทร์-ศุกร์) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
วิลาสินี แวน ฮาเรน - ข่าวค่ำ (จันทร์-ศุกร์) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)

ข้อวิพากษ์วิจารณ์และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานี
กระบอกเสียงรัฐบาล
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

ในปี พ.ศ. 2551 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ถูก วิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาล (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย) เช่น ให้มีการจัดรายการ ความจริงวันนี้ ซึ่งเป็นรายการกระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีผู้เสียหายจากข้อเท็จจริง จนต้องออกมาฟ้องหมิ่นประมาทอยู่บ่อยครั้ง เช่น ตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือ ปปช. รวมไปถึงนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนนำไปสู่การบุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551
การบุกยึดที่ทำการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ภาพขณะพันธมิตรฯ ทำลายประตูรั้ว เพื่อเข้าชุมนุมภายในเอ็นบีที เมื่อเวลา 8.30 น.
ภาพขณะถูกระงับการออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราวแห่งที่ 1

เมื่อเวลา 05.30 น. วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มชายฉกรรจ์ สวมหมวกไอ้โม่งปิดหน้าอย่างมิดชิด ซึ่งอ้างตัวเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย หน่วยรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวนประมาณ 80 คน ได้บุกเข้ายึดอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ริมถนนวิภาวดีรังสิต โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่งดออกอากาศรายการข่าวเช้า ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ได้ โดยตรวจพบอาวุธปืน ไม้กอล์ฟ มีดดาบสปาตา และใบกระท่อม ในตัวกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว

จากนั้น เวลาประมาณ 06.00 น. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ขึ้นประกาศบนเวทีใหญ่ของพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ได้บุกยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเป็นผลสำเร็จแล้ว ตนจะนำกลุ่มดาวกระจายตามไปสมทบที่สถานีฯ

ต่อมา เวลาประมาณ 08.30 น. แนวร่วมกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่นำโดยนายสมเกียรติ และนายอมร อมรรัตนานนท์ ได้พังประตูรั้วเข้ายึดที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตลอดจนห้องส่งกระจายเสียง และห้องส่งออกอากาศ ถือเป็นการเข้ายึดสถานีโทรทัศน์โดยประชาชนครั้งแรกในประเทศไทย[4]

กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยุติการส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 92.5 และ 97.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ ตลอดจนมีความพยายามของเจ้าหน้าที่เทคนิคของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ในการนำสัญญาณโทรทัศน์ของเอเอสทีวี มาออกอากาศในคลื่นความถี่โทรทัศน์ของเอ็นบีทีแทน เป็นผลให้เอ็นบีทีไม่สามารถออกอากาศได้ในช่วงแรก แต่หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคเปลี่ยนระบบการออกอากาศ โดยใช้สัญญาณแอนาล็อกแทนสัญญาณดิจิตอล ทำให้สามารถออกอากาศได้โดยไม่มีคลื่นแทรก ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจจึงตัดสายไฟฟ้าของเครื่องส่ง เพื่อให้เกิดความเสียหายแทน[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนความพยายามออกอากาศรายการข่าวอย่างต่อเนื่องทางเอ็นบีที ของพนักงานฝ่ายข่าว นำโดย น.ส.ตวงพร อัศววิไล, นายจิรายุ ห่วงทรัพย์, น.ส.สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์, นายอดิศักดิ์ ศรีสม, นายสัญญลักษณ์ เจริญเปี่ยม, น.ส.วรวีร์ วูวนิช, นายกฤต เจนพานิชการ เป็นต้น ได้ใช้วิธีการหลายรูปแบบ ดังนี้

ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่ แล้วให้สำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนกลาง ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ รับสัญญาณผ่านดาวเทียม ส่งไปยังเสารับสัญญาณโทรทัศน์บนอาคารใบหยก 2 เพื่อส่งออกอากาศทั่วประเทศอีกชั้นหนึ่ง โดยออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราว ภายในบริเวณสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาพบ จึงถูกระงับการออกอากาศไปอีก
ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค (ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดเชียงใหม่) [ต้องการอ้างอิง] มาที่ส่วนกลาง แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่เช่นเดิม โดยจัดห้องภายในศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) และต่อมาที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นห้องส่งชั่วคราว

จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 18.30 น. วันเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศถอนกำลังออกจากสถานีฯ เนื่องจากความพยายามเชื่อมต่อสัญญาณเอเอสทีวีไม่ประสบผล แล้วไปสมทบกับกลุ่มใหญ่ ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจสอบบริเวณสถานี พบว่ามีการบุกรุกเข้าไปห้องต่างๆ ภายในอาคาร สถานที่ถูกทำลายไปเป็นบางส่วน อีกทั้งมีทรัพย์สินเสียหายและสูญหายไปจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะมีการบุกรุกเข้าไปรื้อค้นสิ่งของ ภายในห้องประทับรับรอง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่มีหมายกำหนดการเสด็จทรงบันทึกเทปรายการทูบีนัมเบอร์วันวาไรตี้ ที่เอ็นบีทีในวันดังกล่าวด้วย หลังจากการตรวจสอบในเบื้องต้น จึงอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ กลับเข้าปฏิบัติงานภายในอาคารได้[ต้องการอ้างอิง]

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ และผู้ประกาศข่าวส่วนหนึ่ง ยังคงรายงานข่าวที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในช่วงคืนวันที่ 26 ต่อเช้าวันที่ 27 สิงหาคม จนกระทั่งสามารถกลับมาออกอากาศรายการข่าวภายในสถานีได้ตามปกติ ในช่วงข่าวเที่ยง วันที่ 27 สิงหาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น