โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

17 ก.ย. 2554

ช่อง3

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์แบบไม่เก็บค่าบริการจากผู้รับชมแห่งที่สี่ของประเทศไทย เน้นเรื่องความบันเทิง ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10.00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่อง 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 32 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 และมี นายประวิทย์ มาลีนนท์ เป็นกรรมการผู้จัดการ
ประวัติ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เกิดขึ้นจาก บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (อังกฤษ: Bangkok Entertainment Company Limited; ชื่อย่อ: บีอีซี.; BEC ปัจจุบันอยู่ในเครือบีอีซี เวิลด์) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยนายวิชัย มาลีนนท์ และ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ลงนามร่วมกัน ในสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีอายุสัญญา 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513-25 มีนาคม พ.ศ. 2523

โดยตามสัญญา กำหนดให้มีที่ดินไม่น้อยกว่า 6 ไร่ เพื่อก่อตั้งสถานีส่งออกอากาศ พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้าง และอุปกรณ์การส่งโทรทัศน์ทั้งหมด รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท โดยจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ทันที เมื่อเริ่มส่งออกอากาศ แต่เมื่อลงทุนจริง บริษัทฯ ใช้ทุนไปทั้งสิ้น 54.25 ล้านบาท สูงกว่าในสัญญา 29.25 ล้านบาท และระหว่างการร่วมดำเนินกิจการตามสัญญา ในระยะเวลา 10 ปีนั้น บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าตอบแทน แก่บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นเงิน 44 ล้านบาท และเงินสวัสดิการ แก่พนักงานบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด อีกปีละ 1 ล้านบาท รวมเป็น 10 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 54 ล้านบาท

อนึ่ง บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้ขยายอายุสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ซึ่งแปรรูปมาจาก บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2520 มาแล้วสองครั้ง คือเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2521 ขยายออกไปอีก 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2523-25 มีนาคม พ.ศ. 2533 และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ขยายออกไปอีก 30 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533-25 มีนาคม พ.ศ. 2563

ต่อมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2513 ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มทดลองออกอากาศ โดยใช้กำลังส่งเต็มระบบคือ 50 กิโลวัตต์ ด้วยเครื่องส่งขนานเป็นครั้งแรก ระหว่างเวลา 19.00-21.00 น. จากนั้น ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2513 ทางสถานีฯ เริ่มทดลองแพร่ภาพออกอากาศแบบเสมือนจริง ระหว่างเวลา 09.30-24.00 น. และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ตามเวลาฤกษ์ คือ 10.00 น. โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีฯ[1][2]
อาคารที่ทำการ

เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2512 มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการสถานีฯ บนที่ดินขนาด 6 ไร่เศษ บริเวณกิโลเมตรที่ 19 ถนนเพชรเกษม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยอาคารดังกล่าว มีความสูง 4 ชั้น ภายในเป็นห้องส่งขนาด 600 ตารางเมตร 2 ห้อง, ขนาด 500 ตารางเมตร 2 ห้อง และขนาด 110 ตารางเมตร อีก 1 ห้อง โดยแต่ละห้องส่งจะมีห้องควบคุมเฉพาะ ซึ่งมีการติดตั้งระบบไซโครามา สูง 7.5 เมตร กว้าง 47 เมตร ใช้ประดิษฐ์ภาพฉากท้องฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดความชัดลึก และเปลี่ยนสีให้กับฉากได้เสมือนจริงอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อเริ่มแพร่ภาพออกอากาศแล้วทางสถานีฯ ต้องส่งมอบอาคาร และที่ดินดังกล่าว ตลอดจนเครื่องส่งโทรทัศน์ และอุปกรณ์การออกอากาศต่างๆ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยทันที

ต่อมาได้แยกส่วนของสำนักงาน มายังอาคารเลขที่ 2259 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และจัดสร้างห้องส่งโทรทัศน์ บนชั้น 8 ของอาคารโรบินสัน จากนั้น เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2529 จึงได้รวมส่วนงานที่กระจายอยู่ 3 แห่ง มารวมศูนย์อยู่ที่อาคารวานิช 1 และ 2 บริเวณแยกวิทยุ-เพชรบุรี (ถนนวิทยุตัดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำเนินงานให้คล่องตัวมากขึ้น และในราวปี พ.ศ. 2542 สถานีฯ ย้ายอาคารที่ทำการทั้งสามส่วนงาน ขึ้นไปยังอาคารเอ็มโพเรียม ถนนสุขุมวิท

ในปัจจุบัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2546) จึงย้ายมายังอาคารที่ทำการปัจจุบัน โดยมี บมจ.บีอีซีเวิลด์ เป็นเจ้าของด้วยตนเองคือ อาคารมาลีนนท์ (เดิมเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)) เลขที่ 3199 ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 อาคาร โดยอาคาร เอ็ม 1 เป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทฯ และ อาคาร เอ็ม 2 เป็นส่วนปฏิบัติการออกอากาศ
เทคโนโลยีการออกอากาศ

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ชื่อสากล: HS-TV 3) เป็นสถานีโทรทัศน์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ออกอากาศโดยใช้ช่องความถี่ต่ำ ระบบวีเอชเอฟ ทางช่อง 2 ถึง ช่อง 4 โดยในระยะเริ่มแรก สามารถให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น โดยใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีขนาด 25 กิโลวัตต์ จำนวนสองเครื่องขนานกัน รวมกำลังส่งเป็น 50 กิโลวัตต์ อัตราการขยายสายอากาศ 13 เท่า กำลังออกอากาศที่ปลายเสาอยู่ที่ 650 กิโลวัตต์ เสาอากาศเครื่องส่งมีความสูง 250 เมตร ความถี่คลื่นอยู่ระหว่าง 54-61 เมกะเฮิร์ตซ์ ใช้ระบบ ซีซีไออาร์ พาล (CCIR PAL) 625 เส้น เป็นแห่งแรกของไทย โดยส่งออกอากาศ ทางช่องสัญญาณที่ 3 ทั้งนี้ ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งที่สองของประเทศไทย ต่อจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

ต่อมา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 บริษัทฯ จึงลงนามในสัญญาขยายเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วประเทศ ร่วมกับ อ.ส.ม.ท. เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์ออกอากาศร่วมกัน ระหว่างไทยทีวีสีช่อง 3 และไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531-กรกฎาคม พ.ศ. 2534 จนทั้งสองช่อง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟความถี่ต่ำ ช่วงระหว่าง 54-61 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งถูกรบกวนได้ง่าย และภาครับมีความซับซ้อน เนื่องจากอยู่ในย่านความถี่ต่ำ จึงมีขนาดความยาวคลื่นสูง จึงต้องใช้สายอากาศรับสัญญาณ ที่มีความยาว และน้ำหนักมากกว่า สายอากาศที่ใช้รับสัญญาณโทรทัศน์ ระบบวีเอชเอฟความถี่สูง ระหว่างช่อง 5-ช่อง 12 นอกจากนี้ เมื่อกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงมากขึ้น จำนวนประชากร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณภาพสัญญาณของไทยทีวีสีช่อง 3 ลดลงไปมาก เมื่อเทียบกับช่วงที่เริ่มออกอากาศระยะแรก

ดังนั้น ช่วงปลายปี พ.ศ. 2546 ไทยทีวีสีช่อง 3 จึงได้รับอนุมัติการจัดสรรคลื่นความถี่ในระบบยูเอชเอฟ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) เพื่อใช้ออกอากาศแทนคลื่นความถี่เดิม (ระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ) จำนวน 5 สถานี คือ สถานีหลักกรุงเทพมหานคร ออกอากาศทางช่อง 32, สถานีส่งเชียงใหม่ เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 46 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548, สถานีส่งสุโขทัย เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 37 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2548, สถานีส่งนครราชสีมา เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 41 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เดิมตั้งเสาส่งที่เขายายเที่ยง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว ต่อมา ย้ายไปที่หมู่บ้านยางน้อย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา, และ สถานีส่งสงขลา เริ่มแพร่ภาพทางช่อง 38 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ต่อมา เนื่องจากคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ ระบบวีเอชเอฟความถี่สูง ทางช่อง 11 ที่ไทยทีวีสีช่อง 3 ใช้ในบริเวณชายแดนไทยมาเลเซีย เกิดรบกวนกับสัญญาณอื่น ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 จึงเพิ่มสถานีส่งขึ้นที่จังหวัดสตูล โดยแพร่ภาพทางช่อง 55[4]

สำหรับสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานคร ได้มีการร่วมกันลงนามในสัญญาร่วมใช้เสาส่งโทรทัศน์ และระบบสายอากาศโทรทัศน์ บนอาคารใบหยก 2 ระหว่าง บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ต่อมา เกิดการโอนกิจการ ทรัพย์สิน สัญญาการดำเนินการ และสิทธิต่างๆ ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งรวมถึงเสาส่ง คลื่นความถี่ และเครื่องส่งโทรทัศน์ ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของ สำนักบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟเฉพาะกิจ (หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) เมื่อปี พ.ศ. 2550 และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2551 ตามลำดับ จึงมีการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญา เป็นองค์กรของรัฐทั้งสองตามไปด้วย)

จากนั้น เมื่อเวลา 09.39 น. ของวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศด้วยระบบยูเอชเอฟอย่างเป็นทางการ ทางช่อง 32 ซึ่งในระยะแรก สามารถรับชมได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 17 จังหวัด โดยยังคงออกอากาศในระบบวีเอชเอฟความถี่ต่ำ ทางช่อง 3 ไปเป็นคู่ขนานด้วย เพื่อให้เวลาเปลี่ยนแปลงระบบการรับชมแก่ผู้ชม กระทั่งวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 จึงยุติการออกอากาศระบบวีเอชเอฟ จากสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานคร และออกอากาศระบบยูเอชเอฟเพียงทางเดียว

การจัดรูปองค์กร

ไทยทีวีสีช่อง 3 มีรูปแบบการบริหารองค์กร โดยแบ่งหน่วยงานย่อยออกเป็น 18 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร, ฝ่ายผลิตรายการ, ฝ่ายข่าว, ฝ่ายรายการ, ฝ่ายออกอากาศ, ฝ่ายศิลปกรรม, ฝ่ายวิศวกรรม, ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์, ฝ่ายแผนงานวิศวกรรม, ฝ่ายไฟฟ้ากำลัง, ฝ่ายสถานีวิทยุกระจายเสียง (เอฟ.เอ็ม.105.5 เมกะเฮิร์ตซ์), ฝ่ายธุรการ, ฝ่ายบุคคล, ฝ่ายบัญชี, ฝ่ายการเงิน, ฝ่ายโฆษณา, ฝ่ายการตลาด และฝ่ายประชาสัมพันธ์
คำขวัญประจำสถานี

เมื่อปี พ.ศ. 2524 ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยอนุมัติของ นายวิชัย มาลีนนท์ และผู้บริหารสถานีฯ ได้จัดกิจกรรมให้ผู้ชมร่วมเสนอคำขวัญประจำสถานีฯ ทว่าไม่มีคำขวัญใดที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งนี้ ในอีกสามปีต่อมา นายวิชัย พร้อมด้วยผู้บริหารไทยทีวีสีช่อง 3 นำคำขวัญ ซึ่งได้มาจากการเสนอของผู้ชมในครั้งแรก มารวมเข้ากับแนวคิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสถานีฯ จนกระทั่งได้คำขวัญว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยนำมาเผยแพร่ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 เนื่องในโอกาสที่สถานีฯ มีอายุครบ 15 ปี ในวันที่ 26 มีนาคม ปีเดียวกันนั้น
นิตยสารรายการโทรทัศน์

ดูบทความหลักที่ นิตยสารรายการโทรทัศน์
เหตุการณ์สำคัญ

ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ริเริ่มจัดทำนิตยสารรายการโทรทัศน์ เพื่อแจกฟรีแก่ผู้สนใจ ออกเป็นฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2514 นับเป็นสถานีฯ แรก ที่จัดทำนิตยสารในลักษณะนี้ แต่สามารถดำเนินการได้เพียงประมาณสองปีก็หยุดไป แต่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 สถานีฯ จึงฟื้นการจัดทำนิตยสารขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนั้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2520 ยังออกเป็นฉบับภาษาอังกฤษและต่อมา มีการออกเป็นฉบับภาษาจีนอีกด้วย แต่ในปีพ.ศ. 2539 ยุติการจัดพิมพ์ลงแล้วในทุกภาษา และปัจจุบัน สถานีฯ จึงฟื้นการจัดทำนิตยสารขึ้นใหม่อีกครั้ง


กระแสไฟฟ้าขัดข้อง

ในยุคแรกของการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ทั่วโลก มักเกิดปัญหาความไม่เสถียร ของสัญญาณการออกอากาศ หรือปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง สำหรับในประเทศไทย เจ้าหน้าที่เทคนิคจะเตรียมสไลด์ภาพดอกไม้ชนิดต่างๆ ที่ประกอบด้วยตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ รวมถึงอาจมีชื่อย่อหน่วยงานภาครัฐ ที่ให้เช่าสัมปทานและคลื่นความถี่ พร้อมทั้งแถบบันทึกเสียง ประกาศขออภัยผู้ชมไว้อยู่เสมอ ทั้งนี้ สำหรับไทยทีวีสีช่อง 3 คำประกาศในแถบบันทึกเสียงดังกล่าว จะมีใจความว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต้องขออภัยท่านผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง จึงทำให้การออกอากาศต้องหยุดชะงักไปชั่วขณะ ... และต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับชมรายการของทางสถานีฯ ได้ตามปกติค่ะ"
ภาพแถบสีทดสอบ แบบ Colourredbar ที่แสดงข้อความ BecTero-TesT บนหน้าจอ

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ระบบบำบัดน้ำเสียภายในอาคารมาลีนนท์เกิดชำรุด ส่งผลให้น้ำเสียไหลเข้าท่วมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงไม่สามารถออกอากาศได้ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าดับ ตั้งแต่เวลา 16.04 น. ขณะกำลังแนะนำเนื้อหา ในช่วงต้นของรายการเด็ก กาลครั้งหนึ่ง โดยในเวลาดังกล่าว สัญญาณภาพที่กำลังออกอากาศ ก็หยุดลงและหายไป กลายเป็นสัญญาณว่าง (ภาพซ่า) จนกระทั่งเวลา 17.25 น. จึงเปลี่ยนเป็นแถบสีทดสอบ (Test Card) แบบ Colourredbar พร้อมเสียงทดสอบ อยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นในเวลา 17.28 น. ภาพหายไปเป็นสัญญาณว่างอีกครั้ง

ต่อมาเมื่อเวลา 17.32 น. กลับมามีภาพแถบสีในแนวตั้งตลอดทั้งหน้าจอ และบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น เพื่อทดลองเสียง และในเวลา 17.37 น. จึงกลับมาปรากฏไตเติลเปิดรายการ เรื่องเด่นเย็นนี้ และเข้าสู่รายการตามปกติ โดยออกอากาศจากชั้นล่างของอาคารปฏิบัติการออกอากาศ ด้วยการใช้รถถ่ายทอดสดเคลื่อนที่ (Outdoor Broadcaster - OB) นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกับทางสถานีฯ และยังเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ไทยด้วย[5]
เพลิงไหม้อาคารมาลีนนท์
ภาพแถบสีทดสอบ ที่ใช้ในวันที่ 20 พฤษภาคมเพียง 40 นาที
ภาพทดสอบ เพื่อเตรียมเริ่มทดลองออกอากาศ

สืบเนื่องจาก ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 กำลังทหารพร้อมรถหุ้มเกราะ เข้าสลายการชุมนุมของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน บริเวณแยกราชประสงค์ ส่งผลให้แกนนำต้องประกาศยุติการชุมนุม หลังจากนั้น มีผู้ก่อเหตุจลาจล ด้วยการวางเพลิงอาคารสำคัญหลายแห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร[6]

เวลาประมาณ 14.30 น.ของวันเดียวกัน มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่ง เข้าปิดล้อมและวางเพลิง บริเวณชั้นล่างของอาคารมาลีนนท์ รวมถึงรถยนต์ที่จอดไว้บนลานหน้าอาคาร บางส่วนขึ้นไปวางเพลิงบนลานจอดรถชั้น 4 และชั้น 6 พร้อมทั้งทุบทำลายทรัพย์สินบางส่วน และขัดขวางข่มขู่เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ไม่ให้เข้าไปควบคุมเพลิงได้ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารและพนักงานช่อง 3 ได้รับความช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ ให้ออกจากตัวอาคารอย่างปลอดภัย[7]14.30 ขณะออกอากาศ ละคร นางสาว เย็นฤดี เกิดภาพดับๆ ติดๆ จนเมื่อเวลา 15.52 น. ขณะออกอากาศรายการ ดาราการ์ตูน ช่วงที่สอง ไปได้ไม่กี่นาที ไทยทีวีสีช่อง 3 จึงต้องยุติการออกอากาศลงชั่วคราว โดยหน้าจอโทรทัศน์ แสดงภาพถ่ายดอกไม้ มีตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พร้อมตัวอักษร อ.ส.ม.ท. กำกับอยู่ช่วงล่างของตราสัญลักษณ์ ทั้งหมดอยู่เบื้องขวาของภาพ ต่อมา ภาพบนหน้าจอเครื่องรับก็ดับไปเป็นสีดำ จากนั้นปรากฏภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ [8]

หลังจากนั้นไม่นาน ภาพสัญญาณก็ดับไปอีก แต่หากรับชมผ่านระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง จะมีภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ ส่วนล่างของจอ ระบุข้อความ "สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" และมีเสียงดังปี๊บอยู่ตลอดเวลา [9] แต่หากชมผ่านดาวเทียมไทยคม ระบบซี-แบนด์ ซึ่งไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอยู่ในสองความถี่คือ ดาวเทียมไทยคม 2 ที่ความถี่ 3967/H/4550 (ปรากฏภาพเช่นเดียวกับการรับชมผ่านระบบยูเอชเอฟ) และดาวเทียมไทยคม 5 ที่ความถี่ 3803/V/4551 (ไม่มีสัญญาณ ปรากฏเป็นสีดำ) จากนั้น เมื่อเวลา 21.15 น. สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย รายงานข่าวว่า ในวันที่ 20 พฤษภาคม ไทยทีวีสีช่อง 3 จะงดการออกอากาศชั่วคราว เป็นเวลา 1 วัน

ต่อมา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม เวลา 16.05 น.ทางสถานีฯ เปลี่ยนภาพที่ส่งไปยังเครื่องรับ ให้เป็นภาพทดสอบแถบสีแนวตั้งตลอดหน้าจอ ส่วนขอบล่างของหน้าจอ ปรากฏข้อความ "ทดลองระบบออกอากาศ" พร้อมตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พร้อมตัวอักษร อ.ส.ม.ท. กำกับอยู่ช่วงล่างของตราสัญลักษณ์ ทั้งหมดอยู่ที่ โดยยังคงมีเสียงปี๊บดังเช่นเดิม เวลา 16.45 น.สถานีฯ ก็เปลี่ยนภาพกลับไปตามเดิม

เมื่อเวลา 10.15 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม เสียงปี๊บที่ดังอยู่ตลอดหยุดไป โดยทางสถานีฯ เปิดเพลงบรรเลงเพื่อทดสอบเสียง และเวลา 10.24 น.สถานีฯ เปลี่ยนไปส่งภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 พร้อมบอกเวลาถอยหลัง เพื่อเริ่มทดสอบสัญญาณออกอากาศ โดยมีตราสัญลักษณ์ของช่อง พร้อมข้อความ อ.ส.ม.ท.และโดเมนเนมของไทยทีวีสีช่อง 3 ลักษณะเดียวกับการออกอากาศตามปกติ ปรากฏอยู่ที่มุมขวาบนของจอ ก่อนที่ในเวลา 11.30 น.สถานีฯ จึงเริ่มทดสอบสัญญาณออกอากาศ โดยเริ่ม Ident เปิดสถานีฯ ตามด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อด้วยสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชุด "เพราะพ่อเหนื่อยหนักหนามามากแล้ว" รวมระยะเวลายุติการออกอากาศทั้งหมด 2 วัน 11 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นจึงเปลี่ยนภาพ เข้าสู่ห้องส่งข่าว เพื่อให้ นางสาวกรุณา บัวคำศรี ผู้รายงานข่าว ไทยทีวีสีช่อง 3 ประกาศเปิดสถานีฯ อย่างเป็นทางการ ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ "สวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมคะ ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะเริ่มทดลองระบบการออกอากาศของสถานีฯ ขอเชิญท่านผู้ชม ติดตามรายการต่างๆ ของเราได้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปค่ะ" จากนั้นจึงเริ่ม ภาพยนตร์ชุดตำนานรักดอกเหมย เสนอภาพยนตร์เกาหลีชุด สวรรค์ลิขิตรัก และมีข้อความปรากฏ ที่มุมซ้ายล่างของจอภาพว่า "ทดสอบระบบออกอากาศ" เมื่อภาพยนตร์เกาหลีชุด สวรรค์ลิขิตรัก จบลงในเวลาประมาณ 13.45 น. สถานีฯ ก็นำข้อความดังกล่าวออกไป

การกลับมาออกอากาศในระยะแรก ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รายการที่ออกอากาศยังไม่เป็นไปตามผังรายการปกติ มีการปิดสถานี และเปิดสถานีในเวลา 6.00 น. ของวันถัดไป [12] โดยในวันศุกร์ มีการปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศของรายการปกติตั้งแต่เริ่มเปิดสถานี (เวลา 11.30 น.) จนถึงช่วงบ่าย (รายการที่ปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศดังกล่าว ไม่มีโฆษณาสินค้าคั่นรายการ) วันเสาร์ที่ 21 และวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีการนำการ์ตูนเณรน้อยเจ้าปัญญา และภาพยนตร์ไทยมาออกอากาศตั้งแต่เริ่มเปิดสถานีในเวลา 6.00 น. จนถึงช่วงบ่ายโดยไม่มีโฆษณาสินค้าคั่นรายการ กระทั่งวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เวลา 6.00 น. เป็นต้นไป ทางสถานีจึงได้ออกอากาศรายการต่างๆ ตามผังรายการปกติ และออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีการปิดสถานี
รายการข่าว

ดูบทความหลักที่ ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ ครอบครัวข่าว 3

ในอดีต สถานีฯ เคยนำเสนอรายการข่าว ในรูปแบบการอ่านข่าวตามปกติ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2529 อ.ส.ม.ท.ลงนามในสัญญาร่วมกับ บริษัทฯ ในการให้สถานีฯ เชื่อมสัญญาณออกอากาศรายการข่าวในช่วงต่างๆ จากสำนักข่าวไทย ทางไทยทีวีสีช่อง 9 เป็นเวลา 5 ปี หลังจากนั้น อ.ส.ม.ท.จึงอนุญาตให้สถานีฯ กลับมานำเสนอข่าวของสถานีฯ เองตามปกติอีกครั้ง จนถึงทุกวันนี้

ต่อมา ราวปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา สถานีฯ ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการนำเสนอข่าว จากการอ่านข่าว มาเป็นการเล่าข่าว เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย และสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากขึ้น ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (สำนักข่าวบีอีซี) มีความมุ่งมั่นในการนำเสนอข่าวสารต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ ที่สถานีฯ เผยแพร่สู่ประชาชน โดยใช้ผู้ประกาศข่าวที่มีความเชี่ยวชาญ และเที่ยงตรงในการนำเสนอข่าว จนในที่สุด ก็นำไปสู่การร่วมกันจัดตั้ง กลุ่มผู้ประกาศข่าว และรายการข่าวว่า "ครอบครัวข่าว 3"
ตราสัญลักษณ์ของรายการข่าวและฝ่ายข่าว

ในระหว่างการออกอากาศรายการข่าวของสถานีฯ ในช่วงเวลาต่างๆ จะปรากฏตราสัญลักษณ์ของฝ่ายข่าว คือมีตัวอักษรภาษาไทย คำว่า ข่าว สีเหลือง ถัดไปทางขวา เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถานี ภายหลังแสดงโดเมนเนม www.becnews.com กำกับด้านล่างเป็นหลักในระยะแรก (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา จะยังใช้เฉพาะในช่วงข่าวด่วนเท่านั้น)

ภายหลังเมื่อมีการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ เป็นรายการย่อยต่างๆ เช่น ระเบียงข่าว 3, 180 วินาทีข่าว, นิวส์ออนทรี เป็นต้น จึงมีการออกแบบตราสัญลักษณ์เป็นของแต่ละรายการย่อยนั้นเอง ซึ่งนับเป็นสถานีแรก ที่สร้างเอกลักษณ์ของการนำเสนอกราฟิกบนหน้าจอ ในรูปแบบที่แตกต่างจากสถานีอื่นๆ

รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

ดูบทความหลักที่ รายชื่อรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ไทยทีวีสีช่อง 3 ถือเป็นผู้นำด้านละครโทรทัศน์ของประเทศไทย เนื่องจากเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชน เข้าเสนอผลงานผลิตละครโทรทัศน์หลากหลายแนว ในเวลาไพรม์ไทม์ ช่วงเย็นและหัวค่ำ นอกจากนี้ ยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีจำนวนผู้ประกาศข่าวมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง] และมีการนำเสนอข่าวถึงครึ่งหนึ่ง (12 ชั่วโมง) ของเวลาการออกอากาศทั้งหมด รวมถึงสถานีฯ ได้จัดซื้อระบบดิจิตอลนิวส์รูม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทันสมัย ที่ได้รับการพัฒนาระดับสูง มูลค่ากว่า 80 ล้านบาท จากบริษัท โซนี่ ไทย จำกัด มาใช้ในการผลิต และนำเสนอข่าวของสถานีฯ อย่างเต็มระบบ เป็นแห่งแรกในภาคพื้นเอเชีย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550[13] นอกจากนี้ ยังมีรายการโทรทัศน์หลากหลายประเภท ที่สร้างชื่อเสียงแก่สถานีอีกหลายรายการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้

ตลกรายวัน[14] (26 มีนาคม พ.ศ. 2513 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535) - รายการที่สองของสถานีฯ และเป็นรายการสุดท้ายของแต่ละวัน ตามผังรายการครั้งแรกของสถานีฯ มีเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องตลก ออกอากาศทุกวัน เวลา 11.00-12.00 น. ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ย้ายมาออกอากาศเวลา 21.00-22.00 น. แต่ในต่างจังหวัดยังออกอากาศเวลาเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2516 ออกอากาศเป็นสองช่วงเวลาคือ 20.30-22.00 น. และ 23.00-0.00 น. เฉพาะในกรุงเทพมหานคร และออกอากาศช่วงเดียว คือ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 23.00 น. อวสานสิ้นปี 2535
รับรางวัล (15 มกราคม พ.ศ. 2514) เกมโชว์รายการแรกของสถานีฯ ที่ในระยะแรกออกอากาศเป็นเวลา 10 นาทีของทุกวัน แต่เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมาก จนกระทั่งสถานีฯ ขยายเวลาในวันจันทร์-วันศุกร์ เป็น 30 นาที และวันเสาร์-วันอาทิตย์ เป็น 1 ชั่วโมง
เปาบุ้นจิ้น (พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2537) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมาก ในทั้งสองช่วงเวลา (พ.ศ. 2517 ออกอากาศทุกวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 19.00 น. และ พ.ศ. 2537 ออกอากาศทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 20.30 น.) โดยยุคแรกนั้น บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ถึงกับเกาะกระแสด้วยการออกผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก ในเครื่องหมายการค้า เปาบุ้นจิ้น เลยทีเดียว (ปัจจุบันใช้เพียงชื่ออย่างสั้นว่า เปา เท่านั้น) [ต้องการอ้างอิง]
ไฟพ่าย (1 กันยายน พ.ศ. 2519) ละครโทรทัศน์ยุคใหม่เรื่องแรกของสถานีฯ ผลงานของภัทราวดี มีชูธน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันพุธ เวลา 19.30-20.00 น. ด้วยแนวทางที่ให้ผู้แสดงศึกษาบทล่วงหน้า และจำบทเอง โดยไม่ต้องมีผู้บอกอยู่ข้างฉากเช่นในยุคก่อนหน้า มีการซักซ้อมล่วงหน้า และบันทึกเทปแทนการออกอากาศสด
กระบี่ไร้เทียมทาน (พ.ศ. 2523) ภาพยนตร์ชุดจีนที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมากอีกเรื่องหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ นำแสดงโดย ฉีเส้าเฉียน (เล่นเป็นตัวละครเอก ฮุ้นปวยเอี๊ยง) ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถึงกับนำกรณีที่ตัวละครในเรื่องนี้นัดหมายพิสูจน์วิชายุทธกัน มาขึ้นเป็นพาดหัวข่าวในหน้า 1 เลยทีเดียว
เณรน้อยเจ้าปัญญา (พ.ศ. 2526) ภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่น ที่สร้างโดยอิงจากชีวประวัติของพระอิกคิว โซจุน ได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชนเป็นอย่างมาก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเย็นๆ เนื่องจากความฉลาดรอบรู้ของเณรเด็ก อิกคิวซัง ตัวเอกของเรื่อง อีกทั้งยังมีคติสอนใจในทุกตอนอีกด้วย
ภาษาไทยวันละคำ (พ.ศ. 2527) รายการสอนภาษาไทย ในเชิงอธิบายความหมายของถ้อยคำสำนวนต่างๆ ดำเนินรายการโดย ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ซึ่งได้รับความสนใจ และเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมาก จากผู้ชมทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของรายการ(รายการนี้ถูกล้อเลียน โดยรายการเพชฌฆาตความเครียด ภายใต้ช่วงว่า "ภาษาไทยคำละวัน" ของ ปัญญา นิรันดร์กุล
ดูดีดีมีรางวัล (พ.ศ. 2531) นับเป็นควิซโชว์ตอบคำถามชิงรางวัลในยุคแรกๆ ที่เปิดรับผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านทั่วประเทศ เนื่องจากทางสถานีฯ กำลังเริ่มโครงการขยายเครือข่ายร่วมกับ อ.ส.ม.ท. จึงเกิดแนวคิดในการสมนาคุณตอบแทนแก่ผู้ชม ที่ติดตามชมรายการของสถานีฯ มาตลอด ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ และ หัทยา เกษสังข์ (ปัจจุบันนามสกุล วงศ์กระจ่าง)
ฝันที่เป็นจริง (พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2539) รายการที่นำเสนอวิถีชีวิตของบุคคล ผู้ต่อสู้กับชะตากรรมอันยากลำบาก ผ่านรูปแบบละครสั้น และปิดท้ายรายการด้วยการสนทนากับบุคคลเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งมอบร้านค้ารถเข็น ให้เป็นอุปกรณ์ดำรงชีพต่อไป ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของรายการ เป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ จนกลายเป็นพิธีกรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น โดยมีผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก บรีส เป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ
ทไวไลท์โชว์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2533) รายการวาไรตี้ทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ซึ่งในช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น ได้รับจัดสรรเวลาจากสถานีฯ ถึง 3 ชั่วโมง (15.00-18.00 น.) ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ แต่เพียงผู้เดียวมาตลอด 14 ปี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547
สีสันบันเทิง (พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน) ข่าวบันเทิงรายการแรกของสถานีฯ เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับรายการ แวด-วงบันเทิง ออกอากาศก่อนหน้าละครภาคค่ำทุกวัน เวลาประมาณ 20.20 น. ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ดำเนินรายการที่มีชื่อเสียงจากรายการนี้ อาทิ หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง, พรหมพร ยูวะเวส เป็นต้น
โต้คารมมัธยมศึกษา (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538) รายการแข่งขันโต้วาที สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ดำเนินรายการโดย กรรณิกา ธรรมเกษร และ จตุพล ชมภูนิช ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 11.30-12.30 น. เป็นรายการที่สร้างชื่อเสียงแก่นักพูดระดับประเทศ อาทิ สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ สุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ
เปิดอก (พ.ศ. 2536 -พ.ศ. 2539) วาไรตี้ทอล์คโชว์ แก้ไขปัญหาชีวิตครอบครัวและสังคม ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ จันทร์ และ อังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. ดำเนินรายการโดย ดวงตา ตุงคะมณี มยุรา เศวตศิลา ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ภาณุเดช วัฒนสุชาติ และเพลงไตเติ้ลรายการโดย เทียรี่ เมฆวัฒนา
มาสเตอร์คีย์ (พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน) เกมโชว์ในยุคใหม่ ที่ออกอากาศในช่วงกลางวัน (ปัจจุบันย้ายไปอยู่ช่วงเช้า) ดำเนินรายการโดย เมทนี บุรณศิริ และ สุเทพ โพธิ์งาม โดยทั้งสองเป็นพิธีกรตั้งแต่ครั้งแรกของรายการจนถึงต้นปี 2553
168 ชั่วโมง (พ.ศ. 2538) วาไรตี้โชว์สำหรับคนนอนดึก ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 00.00-00.30 น. ดำเนินรายการโดย จอนนี แอนโฟเน่, วิบูลย์ ลีรัตนขจร, วุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี, โบ๊ท วิบูลย์นันท์ และ พีรพล เอื้ออารียกูล
ตีสิบ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน) วาไรตี้ทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.30-00.30 น. ปัจจุบันมีระดับความนิยมของผู้ชม (เรตติ้ง) มากที่สุดของสถานีฯ รองจากรายการประเภทละคร มีช่วงดันดาราที่มีชื่อเสียง ดำเนินรายการโดย วิทวัส สุนทรวิเนตร์, กฤตธีรา อินพรวิจิตร และ คืนสิทธิ์ สุวรรณวัฒกี
ซือกง (พ.ศ. 2541 - ปลายปี พ.ศ. 2542) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.30-19.30 น. สถานีฯ ทำประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ชุดนี้ ด้วยคำขวัญซึ่งเป็นที่นิยมในระยะต่อมาว่า "อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล"
เกมเศรษฐี (4 มีนาคม พ.ศ. 2543) ควิซโชว์รูปแบบตอบคำถาม รายการแรกของประเทศไทย มีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท เพียงตอบคำถามได้ถูกต้องทั้ง 16 ข้อ ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ต่อมาย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547
กำจัดจุดอ่อน (7 มีนาคม พ.ศ. 2545) ควิซโชว์ตอบคำถาม ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ต้องออกจากการแข่งขันไปทีละคน มีลักษณะเด่นที่ผู้ดำเนินรายการจะใช้วาจาเชือดเฉือนผู้เข้าแข่งขัน ด้วยน้ำเสียงกระด้างและเรียบเฉย จึงมีผู้วิจารณ์ว่าไม่เหมาะกับสังคมไทย ดำเนินรายการโดย กฤษติกา คงสมพงษ์
รักใสใส หัวใจ 4 ดวง (พ.ศ. 2545) ภาพยนตร์ชุดไต้หวัน นำแสดงโดย กลุ่มศิลปินเอฟโฟร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในไต้หวันและเมืองไทย
เรื่องเล่าเช้านี้ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) เป็นรายการนำเสนอข่าวที่ใช้รูปแบบการเล่าด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เปลี่ยนไปจากการนั่งอ่านข่าวจากสคริปต์ในรูปแบบเดิม ดำเนินรายการโดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ และ เอกราช เก่งทุกทาง
แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง (พ.ศ. 2548 - ต้นปี พ.ศ. 2549) ภาพยนตร์ชุดจากเกาหลีใต้ เรื่องแรกของสถานีฯ ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 18.00-20.00 น.
อัจฉริยะข้ามคืน (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 7 มกราคม พ.ศ. 2551) รายการเรียลลิตี้ควิซโชว์รายการแรกของไทย มีจุดเด่นที่เกมการแข่งขันที่ต้องใช้การวิเคราะห์โจทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะเกมที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นั้นคือ เกมถอดรหัสลับอัจฉริยะ ดำเนินรายการโดย แทนคุณ จิตต์อิสระ และ ปัญญา นิรันดร์กุล
ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 29 เมษายน พ.ศ. 2553) ควิซโชว์ที่ผู้ร่วมรายการต้องแข่งขันตอบคำถามกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จึงเป็นที่นิยมเนื่องจากผู้ชมเอ็นดูในความฉลาดและน่ารักของเด็กๆ ดำเนินรายการโดย กนิษฐ์ สารสิน
ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ (6 มีนาคม พ.ศ. 2554 - ) เรียลลิตี้โชว์ประกวดความสามารถหลากหลายรูปแบบ ไม่จำกัดอายุ เพศ จำนวน ประเภทของโชว์ โดย บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ซื้อลิขสิทธิ์การประกวดบริเทนส์กอตแทเลินต์ จากประเทศอังกฤษ มาออกอากาศในประเทศไทย โดยมี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการผลิตรายการ (ชื่อเต็ม : ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์บันดาลชีวิต โดยซันซิลและเรโซนา)

ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร

ดูบทความหลักที่ รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ในอดีต

นลธวัช พรหมจินดา (ปัจจุบันอยู่ ช่อง 5)
พรหมพร ยูวะเวส (ปัจจุบันอยู่ ช่อง 5)
ธีระ ธัญญอนันต์ผล (1 มกราคม 2551 - 30 กรกฎาคม 2551) เที่ยงวันทันเหตุการณ์ (ปัจจุบันอยู่ โมเดิร์นไนน์ ทีวี)
ศศิวรรณ์ เลิศวิริยะประภา (1 กุมภาพันธ์ 2551 - 31 พฤษภาคม 2552) ข่าวในพระราชสำนัก และ ข่าววันใหม่ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
จินดารัตน์ เจริญชัยชนะ (ปัจจุบันอยู่ เอเอสทีวี)
โศธิดา โชติวิจิตร (ตั้งแต่วันปีใหม่ 2553 ลาออก)
นวนันท์ บำรุงพฤกษ์ ( ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว (ปัจจุบันอยู่ช่องโมเดิร์นไนน์)
ตรงศรม์ มณีชาตรี (ปัจจุบันอยู่ ดี-สเตชัน)
เชาวลิต ศรีมั่นคงธรรม (ปัจจุบันอยู่ในรายการ หมอชิตติดจอ ทางช่อง 7 และ สทท.)
ภาณุพล เอกเพชร (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ (ปัจจุบันอยู่ทรูอินไซด์)
ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (ปัจจุบันอยู่ในรายการบันเทิง 5 หน้า 1 ทางช่อง 5)
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (ปัจจุบันอยู่วอยซ์ ทีวี)
มารุต ชื่นชมบูรณ์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7)
แอนดี้ เขมพิมุก (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)

พิธีกร

มีสุข แจ้งมีสุข - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
พัชรศรี เบญจมาศ - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
พิมลวรรณ หุ่นทองคำ - ผู้หญิงถึงผู้หญิง
ปราย ธนาอัมพุช - แจ๋ว
อภิสรา นุตยกุล - แจ๋ว
วราภรณ์ สมพงษ์ - แจ๋ว
ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ - แจ๋ว
สมาพร ชูกิจ - แจ๋ว
พีรพล เอื้ออารียกูล - ชอตเด็ด กีฬาแชมป์

ดาราและนักแสดง
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)

นักแสดงชาย



นักแสดงหญิง

กฤษฎา พรเวโรจน์
กานต์ อรุณเรืองสวัสดิ์
การิน ศตายุส์
เกียรติกมล ล่าทา
โกสินทร์ ราชกรม
โฆษวิส ปิยะสกุลแก้ว
จักรพันธ์ จันโอ
จิรายุ ตันตระกูล
ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ
โชคชัย บุญวรเมธี
ชาวดิน รัฐกาญจน์
ฐากูร การทิพย์
ณัชร นันทโพธิ์เดช
ณัฐนันท์ จันทรวิโรจน์
ณัฐวุฒิ สกิดใจ
ณัฐฐพนธ์ ลียะวณิช
ณัฐรัฐ โมริส เลอกรอง
ณเดชน์ คูกิมิยะ
ดนัย จารุจินดา
ทฤษฎี สหวงษ์
ธนธร ศวัสกร
ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
ธนา เอี่ยมนิยม
ธนากร โปษยานนท์
ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
นพพล โกมารชุน



นิธิ สมุทรโคจร
ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์
ปริญ สุภารัตน์
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
พศุตม์ บานแย้ม
พัชฎะ นามปาน
พิษณุ นิ่มสกุล
ภัทรภณ โตอุ่น
ภูภูมิ พงศ์ภานุ
มาริโอ้ เมาเร่อ
ยรรยงค์ คำสุขใส
รวิชญ์ เทิดวงส์
วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
วรฤทธิ์ ไวยเจียรนัย
วรวัฒน์ ล้อรัตนชน
วรินทร ปัญหกาญจน์
วริษฐ์ ทิพโกมุท
วิทยา วสุไกรไพศาล
วิลลี่ แมคอินทอช
วีรดนย์ หวังเจริญพร
ศรัณยู ประชากริช
สราวุธ มาตรทอง
สรวิชญ์ สุบุญ
สุรินทร คารวุตม์
หลุยส์ สก๊อต
อธิชาติ ชุมนานนท์
อเล็กซานเดอร์ เรนเดลล์
เอกพงศ์ จงเกษกรณ์



กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ
เข็มอัปสร สิริสุขะ
คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ
จริยา แอนโฟเน่
จอมขวัญ ลีละพงศ์ประสุต
จิตตาภา แจ่มปฐม
จินตหรา สุขพัฒน์
เจนสุดา ปานโต
เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ
ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง
ซาร่า เล็กจ์
เซลิน่า เพียซ
โชติกา วงศ์วิลาศ
เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
ณัฐวรา วงศ์วาสนา
ณฐพร เตมีรักษ์
ณปภา ตันตระกูล
ณิชชาพัณณ์ ชุณหะวงศ์วสุ
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
ธัญญาเรศ เองตระกูล
ธนิดา กาญจนวัฒน์
ปณิตา พัฒนาหิรัญ
ปิยะดา ตุรงคกุล
เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์
พรชิตา ณ สงขลา
พริมรตา เดชอุดม
พรรณชนิดา ศรีสำราญ
พรรษชล สุปรีย์
พัชรินทร์ จัดกระบวนพล
พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์



เพชรลดา เทียมเพ็ชร
ภัณฑิลา ฟูกลิ่น
ภีรนีย์ คงไทย
มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
มณีรัตน์ คำอ้วน
มารี เบิร์นเนอร์
มิณฑิตา วัฒนกุล
มิรา โกมลวณิช
รัชวิน วงศ์วิริยะ
ราศรี บาเลนซิเอก้า
รินลณี ศรีเพ็ญ
ลักษณ์นารา เปี้ยทา
ลลิตา ปัญโญภาส
วิรากานต์ เสณีตันติกุล
เวธกา ศิริวัฒนา
ศรีริต้า เจนเซ่น
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
สกาวใจ พูนสวัสดิ์
สุคนธวา เกิดนิมิตร
สุนิสา เจทท์
สุมณทิพย์ เหลืองอุทัย
สุษิรา แอนจิลีน่า แน่นหนา
หยาดทิพย์ ราชปาล
อังคณา แซ่หลี
อัมราภัสร์ จุลกะเศียน
อารยา เอ ฮาร์เก็ต
อิศริยา สายสนั่น
อุรัสยา เสปอร์บันด์
แอน ทองประสม
ไอยวริญท์ โอสถานนท์

ในอดีต

กรรชัย กำเนิดพลอย
กษมา นิสสัยพันธุ์
กิตติคุณ สัมฤทธิ์พันธุ์สุข
กิตติพันธุ์ พุ่มสุโข
เกรียงไกร อุณหะนันทน์ (อิสระ)
จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
ดอม เหตระกูล
ดิลก ทองวัฒนา (อิสระ)
ตฤณ เศรษฐโชค (อิสระ)
ทูน หิรัญทรัพย์
บัณฑิต สาวแก้ว
ไบรอน บิชอพ
พล ตัณฑเสถียร
พลรัตน์ รอดรักษา
พลวัฒน์ มนูประเสริฐ
รอน บรรจงสร้าง
ไรอัน เจทท์
ศรัณยู วงศ์กระจ่าง
ศานติ สันติเวชกุล
ศิระ แพทย์รัตน์
สถาพร นาควิลัย
อรรถชัย อนันตเมฆ
อาเธอร์ ปัญญโชติ
อานนท์ สุวรรณเครือ
เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์



กมลชนก โกมลฐิติ
กาญจนา จินดาวัฒน์
ก้ามปู สุวรรณปัทม์
ขวัญฤดี กลมกล่อม (อิสระ)
คลาวเดีย จักรพันธุ์
จันทร์จิรา จูแจ้ง
ชิดจันทร์ รุจิพรรณ
ชุดาภา จันทเขตต์
ตรีรัก รักการดี
ทัศนพรรณ สิริสุขะ
นาถยา แดงบุหงา
ปภัสรา ชุตานุพงษ์
ปรารถนา สัชฌุกร
ปาริฉัตร สัชฌุกร
ปวันรัตน์ นาคสุริยะ (อิสระ)
ปาหนัน ณ พัทลุง
พาเมล่า เบาว์เด้นท์
พิมพรรณ จันทะ
เพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทร
ราตรี วิทวัส (อิสระ)
รามาวดี สิริสุขะ
รัชนก พูลผลิน
ลดา เองชวเดชาศิลป์
วรรณิศา ศรีวิเชียร
ศิริลักษณ์ ผ่องโชค (อิสระ)
สายธาร นิยมการณ์
สิรินยา เบอร์บริดจ์
สิริยากร พุกกะเวส
สุนทรี ละม่อม
อภิชญา ปิยะนุวัฒน์ชัย
อาทิตยา ดิถีเพ็ญ
อินทิรา แดงจำรูญ
อุทุมพร ศิลาพันธ์ (อิสระ)
แอนเน็ท เธท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น