โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

17 ก.ย. 2554

ช่อง5















สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ชื่อย่อ: ททบ.5) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยระบบดิจิตอล โดยมี กองทัพบกไทย ในนาม บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิม: บริษัท ททบ.5 จำกัด (มหาชน) ) เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานคณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และ พลโทฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นผู้อำนวยการสถานีฯ

ประวัติสถานี
ก่อนกำเนิด (พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2500)

ในราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมได้ออกข้อบังคับ เกี่ยวกับการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่ในส่วนกองทัพบก โดยกำหนดให้ กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัด สส. จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ทางภาคพื้นดิน ผลิต และถ่ายทอดรายการโทรทัศน์

จากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก ประกอบด้วย พลเอกไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ พันเอกการุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการด้านวิทยุโทรทัศน์ อีกทั้งยังมีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้า สนามเป้า ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท
เริ่มออกอากาศ (พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2510)

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นครั้งแรก จากอาคารสวนอัมพร โดยใช้ระบบ เอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ ถือเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองในประเทศไทย ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4

ต่อมา เมื่อก่อสร้างอาคารสถานีฯ เสร็จสมบูรณ์ จึงได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์ และวันศุกร์ เป็น 3 วันต่อสัปดาห์ ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมาก เป็นสารคดี และภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้น ในปี พ.ศ. 2506 เริ่มตั้งสถานีทวนสัญญาณขึ้นเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ ในการถ่ายทอดสัญญาณ การฝึกของทหารในยามปกติ ซึ่งใช้ชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ ได้เริ่มการจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ ทอดพระเนตรกิจการของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นอกจากนี้ ได้เริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก เอฟเอ็ม 94.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ ในปีเดียวกัน โดยในระยะแรก เป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ.
ก่อตั้ง (พ.ศ. 2511-พ.ศ. 2517)

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 ช่องในขณะนั้น ก่อตั้ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยยกเลิกการใช้เครื่องทราสเลเตอร์ เปลี่ยนมาเป็นระบบไมโครเวฟแทน
เปลี่ยนชื่อ,เปลี่ยนระบบเส้น (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2520)

จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ททบ.ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่ วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ในระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นครั้งแรก ด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ จากลานพระราชวังดุสิต ต่อจากนั้นทางสถานีจึงมีการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานี เพื่อให้สอดคล้องในการบริหารงานของสถานี ซึ่งตรานี้ ก็ยังคงใช้จนถึงปัจจุบันนี้
เช่าดาวเทียม (พ.ศ. 2521–พ.ศ. 2530)

ททบ.5 ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาป้า (PALAPA) ของอินโดนีเซีย พร้อมกับการตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มมีห้องส่งในส่วนภูมิภาค โดยภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ขยายเครือข่าย (พ.ศ. 2531–พ.ศ. 2540)

ช่วงทศวรรษนี้ ททบ.5 ขยายสถานีเครือข่าย ในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังนี้

ระนอง
ตรัง
ตราด
นครศรีธรรมราช
น่าน
ชุมพร
พิษณุโลก
ร้อยเอ็ด
ขอนแก่น
ระยอง
ชลบุรี
เลย
เพชรบูรณ์
สระแก้ว
แพร่
เบตง ยะลา



สุราษฎร์ธานี
ภูเก็ต
เชียงราย
บุรีรัมย์
สกลนคร
ประจวบคีรีขันธ์
ลำปาง
หนองคาย
มุกดาหาร
นราธิวาส
ยะลา
ชัยภูมิ
แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน
ปาย แม่ฮ่องสอน
พะเยา

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2538 ททบ.5 เปิดให้บริการเว็บไซต์ของสถานีฯ โดยใช้โดเมนเนม www.tv5.co.th ที่มีระบบโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ ได้นำเฮลิคอปเตอร์ติดกล้องวิดีโอ รถถ่ายทอดเคลื่อนที่ผ่านระบบดาวเทียม (Digital Satellite News Gathering ชื่อย่อ: D-SNG) มาใช้กับการถ่ายทอดสด การรายงานข่าว การรายงานข่าวด่วน เป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2539 ททบ.5 เป็นผู้นำการผลิตและควบคุมการออกอากาศด้วยระบบดิจิตอลมาใช้ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 ททบ.5 เริ่มต้นออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีแรกในประเทศไทย
ออกอากาศ Thai TV Global Network (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2550)

เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ททบ.5 เป็นองค์กรหนึ่งที่ต้องปรับตัวให้ดำรงอยู่ แต่ท่ามกลางวิกฤตดังกล่าว กลับเป็นโอกาสให้ ททบ.5 แสดงศักยภาพซึ่งปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

ออกอากาศสัญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตอล สู่คนไทยทั่วโลกตามโครงการ ไทยทีวีโกลบอลเน็ทเวิร์ค หรือ Thai TV Global Network ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันสามารถรับชมได้ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก การก่อสร้างอากคารที่ทำการและสถานีโทรทัศน์หลัก แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 ต้อนรับในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. 5 นับเป็นอาคารที่รวมส่วนบริหาร ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุน ไว้ในสถานที่เดียวกัน มีห้องส่งโทรทัศน์ที่ทันสมัยถึง 4 ห้อง ร่วมกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ในการถ่ายทอดสดพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี 9 มิถุนายน 2549 และในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา เริ่มการก่อสร้างอาคารสำนักงานเพิ่มเติมและอาคารจอดรถ มูลค่า 50 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551
ซื้อระบบออกอากาศใหม่ (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

จัดซื้อระบบการออกอากาศใหม่ (วิชวลสตูดิโอ Visual Studio และ วิดีโอวอลล์ Video Wall) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดง แต่ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนอีกครั้งเป็นสีเขียวแทน เนื่องจากสีแดงเป็นสีไม่ดีและประชาชนอาจมองข้างได้ว่า ททบ.5 เป็นของ นปช. และสีเขียวยังเป็นสีของกองทัพบก (ช่วงงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระพี่นางฯ ใช้สีน้ำเงิน) กราฟิกเข้าข่าว รูปแบบที่ 1 บนกราฟิกเข้าข่าวจะเป็นวงกลมสีแดงมีตัวเลข5อารบิคอยู่ตรงกลางถัดมาด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษ news ประกอบอยู่ ถัดมาด้านนอกวงกลมมีวงแหวน 2 วงล้อมรอบ ต่อมาเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีเขียว ระยะที่ 2 ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบโดยมีลักษณะคล้ายรูปแบบเดิมแต่เพิ่มลูกเล่นบนกราฟิกให้ดูโดดเด่นและปรับเป็นสีเขียวแก่แต่ต่อมาได้ปรับรูปแบบเพียงแต่เปลี่ยนเป็นเลข ๕ ไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษ "NEWS" เป็นภาษาไทย "ข่าว" เนื่องจากนโยบายของ ททบ.5 ต้องการอนุรักษ์ภาษาไทย

ในปี พ.ศ. 2553 จะมีการสร้างสำนักงานแห่งใหม่

รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่มที่ รายการการ์ตูนที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

เด็กไทยต้องเป็นเด็กดี (พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2548) รายการเด็กรายการแรกของสถานีฯ ที่ในระยะแรกออกอากาศในเวลา 10 นาทีของทุกวัน ต่อมาออกอากาศในวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ เวลา 17.25 น.
ป๊อบท็อป รายการวาไรตี้เกมโชว์รายการแรกของสถานี จัดโดย พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง
ครอบจักรวาล รายการสารคดีปกิณกะ ว่าด้วยการท่องเที่ยวและแนะนำอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ ผลิตโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดถนัดศรี ดำเนินรายการโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
พิภพมัจจุราช ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
หุ่นไล่กา ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
แคนดี้ ภาพยนตร์การ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูง
ผึ้งน้อยพเนจร ภาพยนตร์การ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูง
เออิชิสมองกล ภาพยนตร์การ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูง
โลกดนตรี (พ.ศ. 2514-พ.ศ. 2540) คอนเสิร์ตทางโทรทัศน์ที่ออกอากาศมานาน ถ่ายทอดสดทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
การบินไทยไขจักรวาล (พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2548) รายการตอบปัญหาเยาวชนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ถ่ายทอดสดจากห้องส่งของสถานีฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากการบินไทย ดำเนินรายการโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
สโมสรผึ้งน้อย (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2537) รายการสำหรับเด็กรายการแรก ดำเนินรายการโดย น้านิด-พัทจารี อัยศิริ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 16.30 น. มีสมาชิกที่อยู่วงการบันเทิงอย่างยาวนานคือ จอย-ศิริลักษณ์ ผ่องโชค และวงดนตรีเอกซ์วายแซด
รวมดาวสาวสยาม (พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2540) รายการปกิณกะเพลงลูกทุ่งรายการแรกที่พลิกโฉมวงการโทรทัศน์ จัดโดย วิญญู จันทร์เจ้า ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.30-15.00 น. ก่อนจะย้ายเป็นวันจันทร์เว้นจันทร์ เวลาเย็น
พลิกล็อก (พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2532) เกมโชว์ในยุคแรกของเจเอสแอลที่มีชื่อเสียง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 น. ต่อมาเจเอสแอลนำชื่อรายการและรูปแบบเกมกลับมาผลิตใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541
สงครามชีวิตโอชิน (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2528) ภาพยนตร์โทรทัศน์ยอดนิยม ที่ผลิตโดยเอ็นเอชเคของญี่ปุ่น ซึ่งรัชฟิล์มทีวีนำมาเสนอฉายเป็นครั้งแรก และต่อมา ไทยทีวีสีช่อง 3 นำมาออกอากาศอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2553
มาตามนัด (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2538) เกมโชว์ที่ออกอากาศช่วงหลังข่าวภาคค่ำเป็นรายการแรกของสถานีฯ และมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ ผลิตโดยรัชฟิล์มทีวี ยุคที่สองซึ่งมีชื่อเสียงมากที่สุด ดำเนินรายการโดย เศรษฐา ศิระฉายา และญาณี จงวิสุทธิ์
ซีอุย (พ.ศ. 2527) ละครสำหรับผู้ใหญ่เรื่องแรกๆ ผลิตโดยกันตนา ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 15.30 น.
ไอคิว 180 (พ.ศ. 2528-พ.ศ. 2541) รายการตอบปัญหาเยาวชน โดยสุ่มตัวเลขมาเป็นโจทย์ให้นักเรียนคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือซีเมนต์ไทย ดำเนินรายการโดย ดร.ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.30 - 19.00 น. ต่อมาเปลี่ยนเป็นช่วงเย็นวันธรรมดา และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ในเวลาต่อมา
คอนเสิร์ต คอนเทสต์ (พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2531) รายการประกวดร้องเพลงและการแสดงจากศิลปินต้นแบบ เพื่อชิงแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 - 14.00 น.
แบบว่า...โลกเบี้ยว (พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2546) รายการมิวสิกวิดีโอสลับการแสดงตลก โดยภิญโญ รู้ธรรมและคณะ ผลิตโดย แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ต่อมาโอนให้บริษัทลูก ทีนทอล์ค) ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 น. ก่อนจะย้ายเป็นทุกวันพุธ เวลาบ่าย
ยุทธการขยับเหงือก (พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2540) รายการตลกปัญญาชนของเจเอสแอล โดยกำหนดให้พิธีกรรายการทุกคนมีคำนำหน้าชื่อเล่นว่า "เสนา"
เกมเผาขน (2 มกราคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) รายการเกมโชว์อันประสบการณ์ร้อนแรง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 - 18.00 น.
ถ่ายทอดข่าวจากซีเอ็นเอ็น (พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2535) รายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ จากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาเช้า เป็นช่วงก่อนจะมีรายการ บ้านเลขที่ 5
เจาะใจ (3 มกราคม พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน) รายการทอล์คโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ย้ายวันออกอากาศ ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.35-23.40 น. ยุคแรกที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ดำเนินรายการโดย ดำรง พุฒตาล และ สัญญา คุณากร
โรงเรียนของหนู (พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2546) เป็นรายการสำหรับเด็กในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้ข้างมากได้ช่วยเหลือเพื่อเป็นทุนการศึกษา ออกอากาศทุกเย็นวันพฤหัสบดี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางเนชั่น แชนแนล จนถึงปัจจุบัน
บ้านเลขที่ 5 (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2549) รายการที่มีผู้ชมมากที่สุดในระยะ 10 ปีแรก ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.30 น. ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสยามทูเดย์ และย้ายเวลาไปเป็นช่วงเย็น ปัจจุบันยุติรายการแล้ว
รักในรอยแค้น (3 มกราคม–25 เมษายน พ.ศ. 2535) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของเอ็กแซ็กท์ นำแสดงโดย ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง และนุสบา วานิชอังกูร โดยในปี พ.ศ. 2545 เอ็กแซ็กท์นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของละครเรื่องนี้ นำแสดงโดย ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ และเอวิตรา ศิระสาตร์
ตามล่าหาความจริง (พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2545) รายการสารคดีเชิงข่าวรายการแรกๆ ของแปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น ดำเนินรายการโดย ประไพพัตร โขมพัตร
ระเบิดเถิดเทิง (7 มกราคม พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน) ซิทคอมเกมโชว์ที่อายุยาวนานที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในวันอาทิตย์ เวลา 16.00 - 17.00 น. ปัจจุบันออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00 - 15.25 น.
เกมจารชน (16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2548) เกมโชว์แนวสายลับรายการแรก และได้รับรางวัลเอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ด สาขาเกมโชว์ยอดเยี่ยม เป็นรายการแรกของไทย ดำเนินรายการโดย ศัลย์ อิทธิสุขนันท์, มยุรา เศวตศิลา, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2543), โหน่ง ชะชะช่า (พ.ศ. 2543-พ.ศ. 2548)
ไฟว์ไลฟ์ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน) รายการเพลงสำหรับวัยรุ่นนอนดึก ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 00.30-01.30 น. (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นทุกวันอังคาร-ศุกร์ เวลาเดียวกัน)
แฟนพันธุ์แท้ (1 กันยายน พ.ศ. 2543 - 17 เมษายน พ.ศ. 2552) รายการควิซโชว์ท้าทายความรู้ ความสามารถ ไหวพริบ และปฏิภาณ ในเรื่องราวที่ผู้แข่งขันชื่นชอบ เพื่อพิสูจน์ความเป็นแฟนพันธุ์แท้ตัวจริง ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล (ต่อมาเปลี่ยนเป็น แทนคุณ จิตต์อิสระ และ เอก ฮิมสกุล)
ที่นี่..ประเทศไทย (2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547) รายการวาไรตี้ เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยในเรื่องต่างๆ ของ บมจ.มีเดีย ออฟ มีเดียส์ ยุคบริหารโดย โฆสิต สุวินิจจิต และ ยุวดี บุญครอง ดำเนินรายการโดย ลอร่า-ศศิธร รามโกมุท วัฒนกุล และ แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 21.15-22.00 น.
ข่าว 5 หน้า 1-สนามเป้าข่าวเที่ยง-ฮาร์ดคอร์ข่าว (1 มกราคม 2553 - ปัจจุบัน) รายการข่าวแบบสามมิติรายการแรกของสถานีฯ ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์
กามิกาเซ่ คลับ (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) รายการอัปเดตเสนอข่าวสารเกี่ยวกับนักร้อง และมิวสิกวิดีโอ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15.45 - 16.30 น.
ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์ (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) รายการเกมโชว์พิสูจน์ความรัก มีช่วงเกมการแข่งขันของคู่ดารา และช่วงการขอแต่งงานจากทางบ้าน ออกอากาศทุกคืนวันจันทร์ เวลา 22.35 น.
เกมเนรมิต (8 มกราคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) รายการเรียลลิตี้เกมโชว์ภารกิจสร้างบ้าน ชิงของรางวัลสูงสุดเป็นบ้านนวัตกรรมพร้อมที่ดิน มูลค่า 12 ล้านบาท ออกอากาศทุกคืนวันเสาร์ เวลา 22.25 น.
ซิสเตอร์ เดย์ รายการวาไรตี้ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 14.45 - 15.35 น. ดำเนินรายการโดย คริส หอวัง ปาณิสรา พิมพ์ปรุ จรินทร์พร จุนเกียรติ และเจนสุดา ปานโต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น