โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

17 ก.ย. 2554

ช่อง7

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7 สี) เป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก ถือเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เป็นผู้นำด้านรายการละคร และรายการกีฬา ในประเทศไทย มีคำขวัญว่า “ช่องเจ็ดสี ทีวีเพื่อคุณ”
ประวัติ

บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สองวันก่อนหน้าที่จะร่วมมือกับกองทัพบก เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์สี ตามมติและนโยบายของ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ในสมัยที่ จอมพล ประภาส จารุเสถียร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เริ่มทำการทดลองออกอากาศโทรทัศน์สี โดยใช้มาตรฐานการออกอากาศ ซีซีไออาร์ 625 เส้น ในระบบพาล (PAL) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ด้วยการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานวชิราวุธานุสรณ์ จากพระราชวังสราญรมย์ โดยใช้ชื่อว่า “สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7”

จากนั้น จึงเปิดสถานีออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ทำสัญญามอบเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ ให้แก่กองทัพบก พร้อมทั้งทำสัญญาเช่า เพื่อดำเนินการบริหารสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยในช่วงแรกของการดำเนินงาน สถานีฯ ใช้ห้องส่งร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกไปพลางก่อน ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ก็นำไปติดตั้งในรถประจำทางเก่า จำนวน 3 คัน โดยรื้อที่นั่งออกทั้งหมด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 จึงย้ายเข้าไปยังอาคารที่ทำการถาวร บริเวณด้านหลังสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) แห่งเก่า (ปัจจุบันคืออาคารศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส และลานจอดรถของสถานีสวนจตุจักร) และด้านข้างอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2521 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายของทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเช่าสัญญาณดาวเทียมนานาชาติ (อินเทลแซท) ถ่ายทอดเหตุการณ์จากทั่วโลกมายังไทย ในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ได้ริเริ่มใช้รถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียม ใช้ย่านความถี่สูง (เคยู-แบนด์) และ รถถ่ายทอดนอกสถานที่ (โอ.บี.) ใช้ย่านความถี่ ซี-แบนด์ ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายชั่วคราว ถ่ายทอดสดงานประเพณีที่น่าสนใจ กีฬานัดสำคัญ และเหตุการณ์ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

ดูบทความหลักที่ รายชื่อรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

รายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน

ดูบทความหลักที่ ฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ข่าวภูมิภาค สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และ รายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จัดตั้งฝ่ายข่าวขึ้น พร้อมกับการเปิดดำเนินงานของสถานีฯ มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง ปัจจุบัน รายการข่าวของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่นิยมเรียกกันว่า ข่าวเด็ดเจ็ดสี นำเสนอข่าวสาร แบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ผ่านช่วงข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยง ข่าวภาคค่ำ เด็ดข่าวดึก รวมถึงข่าวสั้น ซึ่งทำหน้าที่กระจกเงา สะท้อนวิถีชิวิตและสภาพปัญหา ของประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ ผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น ข่าวช่วยชาวบ้าน สกู๊ปชีวิต ด้วยลำแข้ง รายงานของนายคำรณ หว่างหวังศรี ตลอดจนช่วงสะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ ในข่าวภาคค่ำ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังได้รับความนิยมจากผู้ชม

ตั้งแต่ วันที่ 19 เมษายน 2553 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ข่าวภาคค่ำช่อง 7 ทั้ง 2 ช่วง ได้มีเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 100ล้านบาท นั่นก็คือการเสนอข่าวรูปแบบใหม่และฉากข่าวใช้ระบบเวอร์ชวล สตูดิโอ เป็นฉากข่าวใหม่ของช่อง 7 ทั้งเปลี่ยนไตเติ้ลข่าวภาคค่ำและช่วงข่าว ข่าวแถบตัววิ่ง หัวข้อข่าว และข่าวพาดหัวแต่ยังเพลงประกอบเข้าข่าวภาคค่ำยังใช้แบบเดิมอยู่จะเห็นได้ว่าทุกๆช่วงข่าวกราฟิกต่างๆ จะมีความทันสมัยโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอีกทั้งช่องเจ็ดสียังคงมีการเกาะติดสถานการณ์ต่างๆที่ประชาชนให้ควมสนใจโดยผ่านทีมข่าวมืออาชีพ

ตลอดระยะเวลาประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายข่าวของสถานีฯ เก็บรักษาและรวบรวมแฟ้มข่าวในประเทศ และแฟ้มภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) ข่าวในประเทศ อันมีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก มีระบบการจัดเก็บและดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน จนมีการก่อตั้ง "ศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์" ของสถานีฯ ขึ้นเพื่อให้บริการแฟ้มข่าว และแฟ้มภาพข่าวดังกล่าว แก่สถานีโทรทัศน์และสำนักข่าวต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ ทางสถานีฯ ยังริเริ่มจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้น โดยมีอุปกรณ์เทคโนโลยีอันทันสมัยครบครัน เพื่อรายงานข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ผู้ชมทั่วประเทศรับชมได้พร้อมกัน

โดยทั้งฝ่ายข่าวส่วนกลาง และศูนย์ข่าวภูมิภาค ต่างประกอบไปด้วยผู้ประกาศข่าวซึ่งมีชื่อเสียงหลายคน เช่น จักรพันธุ์ ยมจินดา ศันสนีย์ นาคพงศ์ พิษณุ นิลกลัด ศศินา วิมุตตานนท์ จรณชัย ศัลยพงศ์ นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง พิสิทธิ์ กีรติการกุล เอกชัย นพจินดา วีระศักดิ์ นิลกลัด ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร อดิสรณ์ พึ่งยา สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา ภัทร จึงกานต์กุล นารากร ติยายน อนุวัต เฟื่องทองแดง ศจี ชลายนเดชะ เป็นต้น[2] และผู้สื่อข่าวคุณภาพ ซึ่งรายงานข่าวต่างๆ ภายใต้แนวนโยบายเชิงวิสัยทัศน์ ในอันที่จะรายงานข่าวอย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง เป็นข่าวยอดนิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง ตลอดจนสะท้อนเรื่องราวหรือปัญหาต่างๆ จากมุมมองของประชาชนทั่วไป
ละครโทรทัศน์

ดูบทความหลักที่ รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ถือเป็นผู้นำของการนำเสนอรายการละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นด้วยการนำเสนอละครพื้นบ้านในช่วงเช้าวันสุดสัปดาห์ จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงมาเป็น การนำบทประพันธ์ของนักเขียนชื่อดัง ตลอดจนบทละครที่เขียนขึ้นใหม่ มาสร้างเป็นละครเพื่อนำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ 20.25 น. ช่วงเย็นประมาณ 18.45 น. ภายหลังได้มีละครเยาวชนเพิ่มอีกในเวลา 18.15 น. และมีเวลาของละครซิตคอมในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.15 น. และเวลา 13.00 น. นอกจากนี้ ก่อนออกอากาศละครภาคเย็นและภาคค่ำ ยังมีข้อความแสดงคำเตือนเรื่องลิขสิทธิ์ เป็นสถานีฯ แรกด้วย
รายการกีฬาและถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีนโยบายสำคัญประการหนึ่ง ในอันที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาวงการกีฬาในประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปสู่ระดับสากล พร้อมทั้งให้การสนับสนุนแก่เยาวชนไทย ให้ความสนใจกับการเล่นกีฬา เพื่อส่งเสริมให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วย

โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2527 ทางสถานีฯ ริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาสำหรับเยาวชนขึ้น ตามโครงการ แชมป์กีฬา 7 สี จนกระทั่งเกิดนักกีฬารุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศจำนวนมาก เช่น ศิริมงคล สิงห์วังชา อดีตแชมป์สภามวยโลก ในรุ่นแบนตั้มเวทและซูเปอร์เฟเธอร์เวท, เรวดี ศรีท้าว (วัฒนสิน) นักกรีฑา เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์หลายสมัย, มนัสนันท์ แพงขะ - รัตนาภรณ์ อาลัยสุข นักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด เจ้าของเหรียญทองเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13, ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร - มธุรดา คุโณปการ - ดุลยฤทธิ์ พวงทอง นักกีฬาว่ายน้ำ เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์หลายสมัย และยังร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียน 7 คน เป็นรายการแรกของประเทศไทย และยังร่วมสนับสนุนส่งเสริมเยาวชนไทย ให้ก้าวสู่การแข่งขันกีฬาระดับอาชีพ ผ่านการแข่งขันเทนนิส "แชมป์กีฬา 7 สี กรุงศรีฯ สานฝัน ตามรอยภราดร" และ การแข่งขันกอล์ฟ "แชมป์กีฬา 7 สี กรุงศรีฯ สานฝัน ตามรอยวิรดา"

สถานีฯ ริเริ่มกระตุ้นให้ชาวไทย สนใจในกีฬาต่างๆ ด้วยการบุกเบิกถ่ายทอดสด และบันทึกการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ กล่าวคือ ฟุตบอลโลก, ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งเอเชีย, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งอาเซียน, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, ฟุตบอลยูฟ่าซูเปอร์คัพ, ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลเอฟเอคัพ, ฟุตบอลลีกคัพ, ฟุตบอลยุโรป, เทนนิสแกรนด์สแลม, เทนนิสมาสเตอร์ซีรีส์, เทนนิสเอทีพีทัวร์, เทนนิสดับเบิลยูทีเอทัวร์, กอล์ฟเมเจอร์, กอล์ฟยูเอสพีจีเอ, กอล์ฟแอลพีจีเอ, กอล์ฟไรเดอร์คัพ, มวยสากลชิงแชมป์โลก เป็นต้น

สถานีถ่ายทอดสัญญาณส่วนภูมิภาค

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มดำเนินการจัดตั้ง สถานีถ่ายทอดสัญญาณในส่วนภูมิภาค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 นับจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 37 สถานีฯดังต่อไปนี้

กรุงเทพมหานคร - วีเอชเอฟ ช่อง 7

ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ - วีเอชเอฟ ช่อง 7
จังหวัดเชียงราย - วีเอชเอฟ ช่อง 6
จังหวัดลำปาง - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดแม่ฮ่องสอน - วีเอชเอฟ ช่อง 8
อำเภอปาย - วีเอชเอฟ ช่อง 8
อำเภอแม่สะเรียง - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดแพร่ - วีเอชเอฟ ช่อง 2

ภาคกลาง
จังหวัดนครสวรรค์ - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดสุโขทัย - วีเอชเอฟ ช่อง 5

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดนครราชสีมา - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดบุรีรัมย์ - วีเอชเอฟ ช่อง 3
จังหวัดขอนแก่น - วีเอชเอฟ ช่อง 5
จังหวัดเลย - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดหนองคาย - วีเอชเอฟ ช่อง 4
จังหวัดอุบลราชธานี - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดสกลนคร - วีเอชเอฟ ช่อง 11
จังหวัดมุกดาหาร - วีเอชเอฟ ช่อง 2
จังหวัดมหาสารคาม - ยูเอชเอฟ ช่อง 53



ภาคตะวันออก
จังหวัดระยอง - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดตราด - วีเอชเอฟ ช่อง 5
จังหวัดสระแก้ว - ยูเอชเอฟ ช่อง 50
เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี - ยูเอชเอฟ ช่อง 50

ภาคตะวันตก
จังหวัดตาก - วีเอชเอฟ ช่อง 12
จังหวัดกาญจนบุรี - ยูเอชเอฟ ช่อง 48
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - วีเอชเอฟ ช่อง 8
อำเภอหัวหิน - ยูเอชเอฟ ช่อง 55

ภาคใต้
จังหวัดระนอง - วีเอชเอฟ ช่อง 7
จังหวัดภูเก็ต - วีเอชเอฟ ช่อง 7 (เว็บไซต์)
จังหวัดสงขลา - วีเอชเอฟ ช่อง 6
จังหวัดยะลา - วีเอชเอฟ ช่อง 7
จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วีเอชเอฟ ช่อง 8
จังหวัดนครศรีธรรมราช - วีเอชเอฟ ช่อง 7 (เว็บไซต์)
จังหวัดพังงา - วีเอชเอฟ ช่อง 4
จังหวัดชุมพร - วีเอชเอฟ ช่อง 3
จังหวัดสตูล - ยูเอชเอฟ ช่อง 51
จังหวัดตรัง - ยูเอชเอฟ ช่อง 50

นักแสดงในสังกัด
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)

นักแสดงชาย



นักแสดงหญิง

กฤษณกัณท์ มณีผกาพันธ์
เขตต์ ฐานทัพ
คณิน บัดติยา
จิรพัฒน์ สุตตปัญญา
ชวนภ โพธิ์ประเสริฐ
เชื้อชาติ วงศ์สวัสดิ์
ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์
ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม
ณัฐวัฒน์ เปล่งศิริวัธน์
ดนัย สมุทรโคจร
ตะวัน จารุจินดา
ธันญ์ ธนากร
ธนพล นิ่มทัยสุข
ธันวา สุริยจักร
ธาราเขต เพ็ชร์สุกใส
ธาวิน เยาวพลกุล
ธีร์ วณิชนันทธาดา
ธีรภัทร์ แย้มศรี
นนทพัทธ์ ใจกันทา
นราธิษณ์ น้ำค้าง
นวพล ภูวดล
นวพล ลำพูน



ภาณุ สุวรรณโณ
วงศกร ปรมัตถากร
วัชรบูล ลี้สุวรรณ
วีรภาพ สุภาพไพบูลย์
ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
ศุกลวัฒน์ คณารศ
รพีภัทร เอกพันธ์กุล
รังสิต ศิรนานนท์
ชนะพล สัตยา
พาทิศ พิสิฐกุล
พิชยดนย์ พึ่งพันธ์
พีรวิชญ์ บุนนาค
พูลภัทร อัตถปัญญาพล
มิกค์ ทองระย้า
รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง
สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์
สุรวุฑ ไหมกัน
ศรัณย์ ศิริลักษณ์
อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา
อานัส ฬาพานิช
อิทธิกร สาธุธรรม
อรรคพันธ์ นะมาตร์



กรรณาภรณ์ พวงทอง
กวินตรา โพธิจักร
กัญญกร พินิจ
กัญญา รัตนเพชร์
กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า
เขมนิจ จามิกรณ์
จีรนันท์ มะโนแจ่ม
ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล
ฐิตินันท์ สุวรรณถาวร
ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์
ทิสานาฏ ศรศึก
ณัฐวรา หงษ์สุวรรณ
ณิชานันท์ ฝั้นแก้ว
ดาวิกา โฮร์เน่
ธราภา กงทอง
ธันย์ชนก ฤทธินาคา
ธัญญชล สถิรบุตร
ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์
ธัญสินี พรมสุทธิ์
นัทธินันท์ กุมชพร
บัณฑิตา ฐานวิเศษ
ปริยฉัตร ลิ้มธรรมมหิศร
ปรียานุช อาสนจินดา
ปัณฑิตา ภูวิจารย์ เคาวเวลล์
ป่านทอง บุญทอง
ปาลิตา โกศลศักดิ์
ปิยธิดา วรมุสิก
ปุณยาพร พูลพิพัฒน์



ไปรยา สวนดอกไม้
ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
พรรัมภา สุขได้พึ่ง
พลอยปภัส ธนันต์ชัยกานต์
พัชราภา ไชยเชื้อ
พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์
พีชญา วัฒนามนตรี
แพร เอมเมอรี่
ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม
ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์
มรกต กิตติสาระ
มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์
วรนุช ภิรมย์ภักดี (วงษ์สวรรค์)
สคราญกมล อุทัยศรี
สิริลภัส กองตระการ
สุวนันท์ ปุณณกันต์ (คงยิ่ง)
ศรศิลป์ มณีวรรณ์
ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา (ลีเดีย) รอพิจารณา กรกฎาคม
ศุจินทรา โสตถิวันวงศ์
อคัมย์สิริ สุวรรณศุข
อติมา ธนเสนีวัฒน์
อธิชนัน ศรีเสวก
อมีนา พินิจ
อัจฉรียา อินสว่าง
อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์
อาริษา วิลล์
อาเมเรีย จาคอป
อุษณีย์ วัฒฐานะ
อุษามณี ไวทยานนท์
อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล

ในอดีต

สาวิกา ไชยเดช (อิสระ)
ปาริชาต แก้วกำพล (อิสระ)
ธนา สุทธิกมล (อิสระ)
มนฤดี ยมาภัย
รักษ์สุดา สินวัฒนา
อภัสนันท์ สุทธิกุล
ศิตา เมธาวี
อรชุมา ธรรมกามี
ดนุพร ปุณณกันต์ (ลงสมัคร ส.ส. และได้รับการเลือกตั้ง)
ยุรนันท์ ภมรมนตรี
เอกรัตน์ สารสุข



จันทนี สิงห์สุวรรณ
สมฤทัย กล่อมน้อย
สมนภา เกษมสุวรรณ
จามิน เหมพิพัฒน์
ทัศนีย์ ชลหวรรณ
จิตต์โสภิณ ลิมปิสวัสดิ์
ธนาภรณ์ รัตนเสน
วิชชุดา สวนสุวรรณ (เสียชีวิต)
ชฎาพร รัตนากร
รัชนีกร พันธ์มณี
อุษณีย์ รักกสิกร
สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์
กชกร นิมากรณ์
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
ปรียานุช ปานประดับ

พิธีกรสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้


7 สีคอนเสิร์ต
บิ๊กซินีม่า
มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส
ไทยซูเปอร์โมเดล
มวยไทย 7 สี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น