โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

17 ก.ย. 2554

สาระความรู้ทีวี

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์

1 ในประเทศไทย 1.1 การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย 1.2 คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย 2 ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น 3 คลื่นความถี่ส่ง 3.1 ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน 3.2 ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม 3.3 ประเภทอื่น 4 ประเภทของโทรทัศน์ 5 การจัดเวลาออกอากาศ 6 สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา 7 ดูเพิ่ม 8 อ้างอิง 9 หนังสืออ่านเพิ่ม 10 แหล่งข้อมูลอื่น ในประเทศไทย ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำจากวังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ / เอ็นบีที) เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และในอนาคตตั้งเป้าว่าจะมีแผนการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพิ่มขึ้น อีก 3 ช่องดังต่อไปนี้ สถานีโทรทัศน์ไทยสยามทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2555 (ภายไต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์) สถานีโทรทัศน์เจเคเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2556 (สถานีโทรทัศน์เสรี) สถานีโทรทัศน์อีทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2557 (สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา) การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - VHF Band-1 ช่อง 3 (ปัจจุบันออกอากาศในระบบ UHF Band-4 ช่อง 32และระบบ Band-5 ช่อง 60) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก - VHF Band-1 ช่อง 5 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 55 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 - VHF Band-3 ช่อง 7 สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี - VHF Band-3 ช่อง 9 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 58 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย - VHF Band-3 ช่อง 11 (ปัจจุบันยังมีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายส่วนภูมิภาคออกอากาศเองได้ด้วย) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส - UHF Band-4 ช่อง 29 (รับช่วงในการส่งสัญญาณต่อจากไอทีวีและทีไอทีวี) คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12) UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60 ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ) UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง ทั้งนี้ทั้งนั้น บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศ โดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน [แก้] คลื่นความถี่ส่ง แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้ ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน ระบบวีเอชเอฟ ระบบยูเอชเอฟ ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม ระบบอีเอชเอฟ สำหรับผ่านดาวเทียม ประเภทอื่น เคเบิลทีวี ใช้กับสายไฟเบอร์ออฟติกและดาวเทียม ประเภทของโทรทัศน์ ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอ โทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัด ให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่ง อาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้โทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของโทรทัศน์ ดังนั้นโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับระดับ HDTV ขึ้นไปควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุดดังในตาราง ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ ขนาดของโทรทัศน์ Low Definition Television 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p) 6 นิ้ว Standard Definition Television 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p) 8 นิ้ว High Definition Television 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p) 25 นิ้ว Extreme High Definition Television 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440p) 45 นิ้ว Quad Full High Definition Television 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p) 50 นิ้ว Ultra High Definition Television 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p) 100 นิ้ว ปัจจุบันมีการแพร่ภาพอยู่ 2 ประเภท คือ ความละเอียดมาตราฐาน (SDTV) กับ ความละเอียดสูง (HDTV) เนื่องจากโทรทัศน์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็น 16:9 เกือบทั้งหมดฉะนั้นจึงออกอากาศภาพแบบ 16:9 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่ยังคงเป็นโทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐานจนถึง พ.ศ. 2550 โทรทัศน์ความละเอียดสูงทั่วโลกเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และใช้ขนาดภาพ 16:9 เท่านั้น UHDTV เป็นโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่ปัจจุบันมีการออกอากาศที่ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่เดียวในโลกของสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค โดยเรียกว่า Super-Hi Vision การจัดเวลาออกอากาศ ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของ รายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขต โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่รายการได้ฉายพร้อมกัน ดังนี้ เช่น 9/8 Central หมายถึง 21:00 (9pm) นาฬิกาทางขวาสุดของประเทศและจะตรงกับ 20:00 (8pm) นาฬิกาในเขตเวลาถัดไป 1 เขตทางซ้ายของประเทศ เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 9/8 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 17:00 (5pm) นาฬิกา (ตัวอย่างเขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาที่ยกตัวอย่างนี้นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่โดยไม่รวมรัฐฮาวายและอะแลสกาที่เวลาจะห่างออกไปอีก 4-6 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้ครึ่งประเทศทางด้านซ้าย ยังอยู่ในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นครึ่งประเทศทางด้านซ้ายโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทาง ด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการโดยสถานีท้องถิ่นต่างๆ ของตนเองหรือที่เรียกกันว่า สถานีท้องถิ่น (syndication) โดยสถานีท้องถิ่นเหล่านี้จะจัดตารางฉายกันเองตามความเหมาะสม สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา Network คือ แม่ข่ายสถานีหลักซึ่งทำหน้าที่สร้างรายการและบริหารในด้านภาพรวมและจัดได้ ว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ 6 ช่องหลักของประเทศประกอบไปด้วย CBS, FOX, ABC, NBC, The CW และ PBS Affiliate คือ สถานีย่อยที่ยึดกับแม่ข่ายสถานีหลัก ระบบฟรีทีวีของอเมริกามีความเป็นอิสระสูงมาก สถานีแต่ละแห่งในแต่ละเมืองจะบริหาร ดำเนินงานกันเอง เป็นเจ้าของเอง โดยไม่ขึ้นกับใคร จัดผังรายการเอง หรือสร้างรายการเอง เพื่อให้เหมาะกับท้องถิ่นนั้นๆ แต่เมื่อสถานีท้องถิ่นนั้นๆเป็น Affiliate กับ Network ก็จะสามารถเอารายการของ Network มาฉายได้ ตัวอย่างเช่น สถานี KTVU เป็นช่อง 2 ที่ซานฟรานซิสโก ในขณะที่ KNYW เป็นช่อง 5 ในนิวยอร์ค หรือ KDFW ช่อง 4 ที่ดัลลัส ทั้งหมดเป็นอิสระต่อกัน เจ้าของเป็นคนละคน แต่ทั้งหมดถือว่าเป็น Affiliate ของ FOX และฉายรายการของ FOX แต่ไม่ได้หมายความว่า FOX เป็นเจ้าของสถานีท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อถึง Primetime ก็จะออกอากาศตามเวลาท้องถิ่น เช่น Glee ซึ่งฉาย 8/7c ก็ต้องเปิด KNYW ช่อง 5 ที่นิวยอร์ค 20:00 หรือ KDFW ช่อง 4 ที่ดัลลัส 19:00 ตามเวลาท้องถิ่น (ซึ่งสองโซนนี้ฉายพร้อมกัน) ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะได้ดูช้ากว่า 2-3 ชั่วโมง ตามเวลาท้องถิ่น ดังนั้น Primetime จึงจัดตามเวลาท้องถิ่น ยกเว้นพวกรายการถ่ายทอดสดจะยึดเวลา Primetime ตามฝั่งตะวันออกเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น